ท้องตอนอายุ 35 ขึ้นไปต้องทำอย่างไร

ปัจจุบันผู้หญิงแต่งงานช้าขึ้น ก็จะมีคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งเมื่อคุณแม่มีอายุมากขึ้น ก็จะมีโรคประจำตัว และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์และการคลอดมากกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี เพราะฉะนั้นหากคุณแม่ตั้งครรภ์ช้าควรมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างไร ศูนย์สูตินรีเวช รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อยรวบรวมข้อมูลไว้ให้ค่ะ

การเตรียมตัวสำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่กำลังอยากมีลูก

  • ควรตรวจร่างกายเมื่อมีแผนที่จะมีลูก เมื่อคุณแม่มีอายุมากขึ้น ก็จะมีโอกาสที่จะมีโรคประจำตัวมากขึ้น ไม่ว่าเป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่น ๆ เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรตรวจร่างกาย หากพบความผิดปกติ จะได้ทำการรักษาก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรือมีภาวะอ้วน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

ความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้น
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มากกว่าคุณแม่อายุน้อย จึงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษและเข้าตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอด และหากคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากขึ้นยิ่งพบว่าอัตราการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองภาวะคลอดก่อนกำหนดสามารถทำได้โดยการวัดความยาวปากมดลูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด ซึ่งช่วยลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดได้ถึง 50%

การฝากครรภ์สามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณแม่และทารกได้
โดยแพทย์จะเริ่มจากการตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ จากนั้นจึงมีการตรวจเลือดและตรวจภายในเพื่อเช็คโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก  เอดส์ กามโรค ตับอักเสบ และคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น

ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงทั้งต่อตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย  เช่น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การคลอดก่อนกำหนด รวมถึงภาวะดาวน์ซินโดรมในลูกน้อย

ฝากครรภ์ดีหรือไม่ดีอย่างไร

คุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจอะไรบ้าง

  • การตรวจภาวะแทรกซ้อนด้วยอัลตร้าซาวด์
    โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง แปลงเป็นภาพวีดีโอเพื่อดูอายุครรภ์  วิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์
  • เจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยโครโมโซม
    เพื่อตรวจดูโครโมโซมของทารกและคัดกรองภาวะความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม และอื่น ๆ
  • การเจาะน้ำคร่ำ เพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม หรือโรคทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์
  • การตรวจชิ้นเนื้อรก
    เป็นการตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม วิธีนี้จำเป็นกรณีมีข้อบ่งชี้ต่อภาวะความเสี่ยงต่าง ๆ

 

ท้องตอนอายุ 35ต้องตรวจอะไรบ้าง
 

 

ติดต่อ คลินิกสูตินรีเวช รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ