ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ว่าเด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 เดือนแรก ควรกินนมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียว โดยยังไม่ต้องทานน้ำหรืออาหารเสริมอื่น ๆ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารจากนมแม่ได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเกิดการแพ้อาหารในอนาคต
ตามธรรมชาติคุณแม่จะสามารถผลิตน้ำนมเลี้ยงลูกได้ จนระบบต่าง ๆ ของลูกพัฒนาเต็มที่ โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันโรค เนื่องจากเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ระบบภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันยังต่ำ หากต้องไปเจอสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ หรือเจอบุคคลอื่น ๆ โอกาสที่จะรับเชื้อโรคก็เกิดขึ้นได้ แต่หากเด็กได้รับนมแม่ ในน้ำนมแม่จะมีสาร ภูมิคุ้มกันที่สำคัญซึ่ง ได้แก่ secretary IgA, เม็ดเลือดขาว, ไลโซไซม์ (lysozyme เอนไซม์ที่มี ฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย), แลตโตเฟอริน (lactoferrin โปรตีนที่ ช่วยต่อต้านเชื้อโรค) และ bifidus growth factor (สารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของแล็กโตบาซิลัส ช่วยให้แบคทีเรียไม่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้) ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคได้
นอกจากนี้นมแม่ยังช่วยพัฒนาสมองของลูก เนื่องจากสมองของเด็ก พัฒนามาแค่ 30% และยังขาดการเชื่อมต่อของเส้นใยประสาท และปลอกหุ้มเส้นใยประสาท ซึ่งต้องอาศัยสาร DHA ซึ่งมีอยู่ในนมแม่
ความต้องการนมแม่ของทารกแรกเกิด
**ช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือนแรก คุณแม่ควรให้ลูกทานนมแม่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากระยะนี้ระบบการย่อยอาหารของลูกยังเติบโตไม่เต็มที่ จึงย่อยอาหารอื่นได้ไม่ดี นมแม่ย่อยง่ายที่สุด เพราะประกอบด้วยโปรตีนและสารอาหารที่ย่อยง่ายตามธรรมชาติ จึงเหมาะกับระบบทางเดินอาหารอันเปราะบางของลูกน้อย นอกจากนี้ในช่วงอายุนี้กระเพาะอาหารของลูกยังมีขนาดเล็ก และมีความแถมยืดหยุ่นได้ไม่มาก การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวจึงดีและปลอดภัยต่อลูกที่สุด
เมนูอาหารลูกน้อยวัย 7 เดือนควรมีอะไรบ้าง
ในช่วงทารกอายุถึง 7 เดือน สามารถที่จะทานอาหารได้บ้างแล้วโดยให้เน้นเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของ ข้าว ไข่ และเนื้อสัตว์ โดยต้องบดให้ละเอียดเพื่อให้ลูกน้อยได้ทานอย่างสะดวกเพราะการพัฒนาการด้านการทานอาหารของลูกรักในวัยนี้ยังไม่พัฒนาได้เต็มที่ และทานควบคู่กับนมแม่
เมนูลูกรักวัย 9 เดือนเป็นต้นไป เด็กทานอะไรได้บ้าง
เมื่อลูกน้อยมาถึงวัย 9 เดือน เริ่มมีพัฒนาการสำหรับการทานอาหารที่ดีขึ้น เมนูสำหรับเด็กวัยนี้ก็สามารถเป็นอาหารที่สามารถพอที่จะให้ลูกเคี้ยวบ้างได้แล้ว เช่น ข้าวหรือแป้ง ขนมปัง ผัก ผลไม้ โปรตีนที่มีเนื้อนุ่ม เช่น ปลา เต้าหู้ เป็นต้น คุณแม่ควรเลือกหรือเตรียมอาหารที่นิ่ม ๆ ที่ง่ายต่อการเคี้ยวของลูก ควบคู่กับการให้นมแม่
นอกจากนี้คุณแม่ควรเลือกแหล่งอาหารที่หลากหลาย และไม่ควรให้ลูกทานแต่อาหารชนิดเดิมซ้ำๆ และควรสังเกตุอาการของลูกด้วย เพราะอาหารบางอย่างอาจย่อยยาก หรือเด็กบางคนอาจจะแพ้อาหารบางประเภท
ควรให้ลูกกินนมแม่ ถึงเมื่อไหร่ดี
เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสมองอย่างเต็มที่ คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ถึงอายุ 6-7 ปี โดยตั้งแต่ 7 เดือนเป็นต้นไปคุณแม่สามารถให้ลูกทานอาหารอื่นควบคู่ไปกับนมแม่ได้
ปริมาณการให้นมในแต่ละช่วงอายุ
- ลูกอายุ 0 – 30 วัน
ปริมาณน้ำนมที่เด็กต้องการ= [ น้ำหนักของลูกเป็นกิโลกรัม x 150 ] ÷ 30 = ปริมาณนมเป็นออนซ์ / วัน (แบ่ง 6 มื้อ)
** บวกลบ ได้ไม่เกิน 4 ออนซ์ และแบ่งมื้อนมออกเป็น 6 – 8 มื้อ / วัน - ลูกอายุ 1 – 6 เดือน
ปริมาณน้ำนมที่เด็กต้องการ= [ น้ำหนักของลูกเป็นกิโลกรัม x 120 ] ÷ 30 = ปริมาณนมเป็นออนซ์ / วัน (แบ่ง 6-8 มื้อ) - ลูกอายุ 6 – 12 เดือน
ปริมาณน้ำนมที่เด็กต้องการ= [ น้ำหนักของลูกเป็นกิโลกรัม x 110 ] ÷ 30 = ปริมาณนมเป็นออนซ์ / วัน - เด็ก 6 เดือน แบ่งมื้อนมเป็น 5 – 6 มื้อ + ข้าว 1 มื้อ
- เด็ก 9 – 11 เดือน แบ่งมื้อนมเป็น 4 – 5 มื้อ + ข้าว 2 มื้อ
- เด็ก 12 เดือน แบ่งม้ือนมเป็น 4 – 5 มื้อ + ข้าว 3 มื้อ
- เด็กอายุมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่จะทานอาหารเป็นหลัก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ดื่มนมมากจนเกินไป เพราะจะทำให้กินข้าวน้อยนั้นเอง นมจะกลายเป็นเพียงอาหารเสริมสำหรับเด็กช่วงอายุนี้ ซึ่งช่วงนี้เด็กๆ ควรจะได้รับแคลเซียมวันละ 500 มิลิกรัม ถ้าเทียบเท่ากับนมปริมาณ 500 ซีซี
ติดต่อคลินิกกุมารเวช รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ