เหงือกบวม ฟันโยก เลือดออกบริเวณร่องฟันง่าย สัญญาณเตือนโรคเหงือก ทพ.ลีนวัฒน์ ศรีสุนาครัว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย ให้ข้อสังเกตง่าย ๆ เพื่อป้องกันและระวังไม่ให้เป็นโรคเหงือกอักเสบค่ะ
โรคเหงือกอักเสบคืออะไร และเกิดจากอะไร
โรคเหงือกอักเสบ คือมีอาการอักเสบของเหงือก ที่เกิดจากคราบอาหารหรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่อาจทำให้โรคเหงือกมีอาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ การสูบบุหรี่ หรือเป็นอาการเหงือกอักเสบในผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้
วิธีการสังเกตเบื้องต้นว่าเราเป็นโรคเหงือกอักเสบหรือเปล่า
- เหงือกร่น
- ขอบเหงือกมีสีม่วงคล้ำ หรือเหงือกมีสีแดงเข้ม
- มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน
- บางรายอาจจะรู้สึกเจ็บเมื่อเคี้ยวอาหาร
- มีเลือดออกหลังแปรงฟัน (ซึ่งกรณีนี้อาจจะต้องตรวจหาสาเหตุอีกครั้ง เนื่องจากการแปรงฟันของแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน รวมถึงวิธีการแปรงที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เลือดออกได้ ปกติเลือดออกขณะแปรงฟันหรือหลังแปรงฟัน จะไม่เยอะ แต่หากมีเลือดออกมาก ถือเป็นเรื่องผิดปกติ ควรรีบมาพบทันตแพทย์)
หากมีอาหารดังกล่าว ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็ค ก่อนอาการรุนแรงและส่งผลกระทบต่อฟัน และสุขภาพช่องปาก
การรักษาโรคเหงือกอักเสบ
โดยปกติโรคเหงือกอักเสบมักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำความสะอาด การดูแลรักษาโรคเหงือกอักเสบจะเริ่มต้นจากการ
- ขูดหินปูน และการทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี ซึ่งบางรายอาการอาจจะดีขึ้น เหงือกที่อักเสบยุบลงในขั้นตอนการรักษาความสะอาด เพราะฉะนั้นควรดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ และควรไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพราะให้คุณหมอเช็คสุขภาพช่องปาก ว่าเราแปรงฟันสะอาดเพียงพอไหม มีปัญหาเรื่องเหงือกอักเสบเกิดขึ้นใหม่หรือเปล่า
- แต่สำหรับผู้มีอาการเหงือกอักเสบรุนแรง บางรายอาจจะต้องรักษาด้วยวิธีการตัดต่อ หรือผ่าตัดเหงือก
วิธีการป้องกันโรคเหงือกอักเสบที่ดีที่สุด คือ แนะนำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจในการรักษาสุขอนามัยของช่องปากอย่างถูกวิธี และหมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาความสะอาดของช่องปากและฟันทุก 6-12 เดือน
หากมีปัญหาสุขภาพฟัน ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทาง
ติดต่อศูนย์ทันตกรรม รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ