การตรวจคัดกรองโรคทางเดินอาหาร และคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ ด้วยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ หรือ Stool Occult Blood คือ การตรวจอุจจาระเพื่อหาเม็ดเลือดแดงที่อาจมีแอบซ่อนอยู่ หรือเป็นการตรวจหาเลือดที่มีประมาณเล็กน้อย ที่ปนในอุจจาระ (Occult Blood) ซึ่งมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ใครบ้างที่ควรตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-50ปีขึ้นไป นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ในญาติสายตรง ผู้ที่อายุ60ปี หรือน้อยกว่า แต่มีประวัติเป็นติ่งเนื้องอก หรือมะเร็งลำไส้
- ผู้ที่มีความปกติทางพันธุกรรมบางชนิด หรือมีคนในครอบครัวมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบ
- ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ควรได้รับการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ ซึ่งควรตรวจเป็นประจำทุกปี
ข้อดีของการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ
เป็นการตรวจคัดกรองโรคทางเดินอาหาร และมะเร็งไล้ใหญ่ที่ง่าย เร็ว และสะดวก เนื่องจากใช้เวลาเพียง 30 นาที ก็สามารถทราบผลได้ โดยผลจะออกมาเป็นบวกหรือลบเท่านั้น หากผลเป็นลบหมายถึงไม่พบความผิดปกติ แต่หากผลเป็นบวก หมายถึงพบความผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักต่อ เพื่อวินิจฉัยความเสี่ยงโรงมะเร็งลำไส้ใหญ่
โดยแนะนำให้ตรวจติดตามอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งทุกปี
การเตรียมตัวก่อนเก็บอุจจาระ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- งดยาลดไข้กลุ่มแอสไพริน วิตามินซี ยาที่มีส่วนผสมของเหล็กไบร์ไมด์ หรือยาอื่นๆ ที่รับประทานในปริมาณมากๆ อย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนเก็บอุจจาระ
- งดการทานอาหารที่มีกากใย และอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ก่อนเก็บอุจจาระอย่างน้อย 3 วัน
- ก่อนวันเก็บอุจจาระประมาณ 3 วัน ผู้ตรวจควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบางชนิด ได้แก่ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ปรุงแบบกึ่งดิบ อาหารที่เกี่ยวกับธาตุเหล็ก เลือดหมูเลือดเป็ด เลือดไก่ ผัก และผลไม้ อาทิ บล็อกโคลี กะหล่ำดอกหัวไขเท้าแดง แคนตาลูป มะรุม น้ำองุ่น เป็นต้น
- งดเข้ารับการตรวจหากมีอาการหรือโรคบางชนิด เช่น ลำไส้ใหญ่บวมอักเสบ โรคเพาะอาการอักเสบ โรคติ่งเนื้ออักเสบในลำไส้ใหญ่ ท้องเสีย ท้องผูก มีอาการเจ็บคออย่างรุนแรง
- ผู้ที่รับประทานวิตามินซี มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อวัน หรือดื่มน้ำผลไม้รสเปรี้ยว หรือวิตามินที่มีวิตามินซี จะต้องลดยาหรือน้ำผลไม้ดังกล่าว 3 วันก่อนการตรวจ
- ไม่แนะนำให้ตรวจช่วงที่มีประจำเดือน ช่วงที่มีเลือดออกของริดสีดวง
ขั้นตอนการเก็บอุจจาระ
- ตรวจสอบความเรียบร้อยของภาชนะที่จัดเก็บ จะต้องแห้งสะอาดและมีฝาปิดมิดชิด
- ก่อนการเก็บตัวอย่างอุจจาระ ควรปัสสาวะทิ้งก่อนเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของปัสสาวะซึ่งอาจส่งผลตรวจการตรวจ
- ถ่ายอุจจาระลงในภาชนะที่แห้งสะอาด เพื่อไม่ให้ตัวอย่างตกลงน้ำ และใช้ที่ป้ายพลาสติกที่อยู่ในกระปุกเก็บอุจจาระประมาณ 4-5 กรัม เช่น ไม้ไอศกรีม หรือช้อนพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และให้ส่งตรวจทันทีไม่เกิน 1 ชั่วโมง
- ควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการเก็บเรื่องจากอุจจาระ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
การแปลผลการตรวจผลการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระจะแสดงค่าเพียง 2 แบบ คือ
- ผลลบ (Negative) คือ ไม่พบเลือดในอุจจาระ (ค่าปกติ)
- ผลบวก (Positive) คือ พบเลือดในอุจจาระ (ค่าผิดปกติ)
สาเหตุที่ทำให้ตรวจพบเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระ (Positive) หรือผลตรวจเป็นบวก อาจเกิดจากภาวะผิดปกติหรือเกิดจากโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
- อาจเกิดแผลจากเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง หรือหรือเกิดแผลที่เนื้องอกชนิดที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) หรือเกิดแผลที่มะเร็งในช่องทางเดินอาหาร (Other gastrointestinal tumors)
- อาจเกิดติ่งเนื้อที่ผนังลำไส้ใหญ่ (Colon polyps) หรือหลอดเลือดบริเวณติ่งเนื้อแตกหรือมีเลือดซึม หลอดเลือดแดงที่บริเวณช่องทางเดินอาหารจนลำไส้อาจเกิดอาการบวมและปริแตก (Angidysplasia of the GI tract)
- หลอดเลือดใกล้ช่องทางเดินอาการจากลำคอไปจนถึงกระเพาะอาจโป่งพอง (Esophageal varices) หรือหลอดเลือดหล่อเลี้ยงกระเพาะอาการเพิ่มความดันสูงขึ้นจนปริแตก (Portal hypertensive gastropathy)
- ช่องทางเกินอาหารจากลำคอไปจนถึงกระเพาะอาหารอาจเกิดการอักเสบจนเป็นแผล (Esophagitis).จากการติดเชื้อ
- ช่องทางเดินอาหารตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก เกิดการอักเสบติดเชื้อ ( GI infections)
- ลำไส้อักเสบ (Inframmatory bowel disease) หรือเกิดจากโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล
- อาจเกิดจากโรคโครน (Crohn’s disease) ซึ่งเป็นโรคที่ระบบภูมิต้านทานทำลายผนังด้านในของลำไส้ตนเอง
- อาจเกิดจากอาการของโรคแผลเปื่อย ในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น (Peptic ulcer)
- อาจเกิดจากโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) ที่บวมขึ้นตรงปากทวารจนแตก จึงทำให้มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
- อาจเกิดจากอาการแผลปริที่ขอบของทวารหนัก (Anal fissures)
การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ แม้ว่าตรวจแล้วผลออกมาจะไม่พบเลือด ก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัยจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือโรคในระบบทางเดินอาหา ร100% แนะนำให้กลับมาคัดกรองอีก 2 ปี หรือควรตรวจเป็นประจำทุกปี และหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
นพ.ไพโรจน์ อภัยบัณฑิตกุล
แพทย์เฉพาะทางศูนย์ศัลยกรรม ศูนย์ส่องกล้องและผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร
ศูนย์โรคนิ่วและต่อมลูกหมาก ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ และคลินิกเต้านม
รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
02-441-7899 ต่อ 1111 , 3124 หรือ1792
ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ