มะเร็งปากมดลูก ถือเป็นมะเร็งที่คัดกรองได้ การคัดกรองจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งในอนาคต เนื่องจากมะเร็งปากมดลูก ก่อนที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งจะระยะเวลาค่อนข้างนาน เพราะฉะนั้นหากพบเจอสิ่งผิดปกติ ก็จะสามารถทำการรักษาหรือป้องกันก่อนที่จะเป็นมะเร็งได้
วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
1.การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear Teat)
เป็นวิธีการเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกมาป้ายบนสไลด์ การตรวจแปปสเมียร์นั้นสามารถให้ผลลัพธ์ลวงได้ เนื่องจากมีเลือด หรือมูกเลือดปนเปื้อน ทำให้เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วไม่เห็นความผิดปกติ >>ความไว 53%
ขั้นตอนการตรวจแปปสเมียร์
- ผู้ตรวจจะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด
- ผู้ตรวจจะตรวจสภาพเบื้องต้นของช่องคลอด และเก็บตัวอย่างด้วยไม้แปปสเมียร์ ส่งห้องปฎิบัติการ
ข้อดีของการตรวจแปปสเมียร์
สามารถตรวจพบรอยโรคก่อนมะเร็งทุกระดับความรุนแรงได้ใกล้เคียงกับการตรวจ ตินแพร๊พ แป๊บเทสต์ (ThinPrep Pap Test) แต่มีราคาถูกกว่า
2.การตรวจตินแพร๊พ แป๊บเทสต์ (ThinPrep Pap Test)
เป็นวิธีการใช้น้ำยา หรือสารเคมีช่วยในการขจัดเซลล์ มูก เม็ดเลือดแดง หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช้เซลล์มะเร็งออก ช่วยให้สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งได้แม่นยำ>>ความไว 74%
ขั้นตอนการตรวจตินแพร๊พ แป๊บเทสต
- ผู้ตรวจจะใช้แปรงขนาดเล็กเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกของผู้เข้ารับการตรวจ
- ผู้ตรวจถอดหัวแปรงใส่ลงในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ ส่งเข้าห้องปฎิบัติการ
ข้อดีของการตรวจตินแพร๊พ แป๊บเทสต์ (ThinPrep Pap Test) เทียบกับการตรวจแปปสเมียร์
- เก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากกว่า
- ลดปัญหาสิ่งบดบังเซลล์ ทำให้เก็บตัวอย่างเซลล์ชัดเจนขึ้น
- ลดอัตราการเกิดผลลัพธ์ลวง
- ใช้เวลาแปลผลสั้นกว่า
- สามารถนำส่งสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลวไปตรวจหาเชื้อ HPV ต่อได้ ไม่ต้องเก็บตัวอย่างซ้ำ
3.การตรวจหาเชื้อ HPV จากปัสสาวะ(Urine HPV DNA Test )
เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อ HPV บริเวณปากมดลูกและผนังช่องคลอดโดยตรงจากการเก็บตัวอย่างเซลล์จากน้ำปัสสาวะ >>ความไวใกล้เคียง 100%
ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อ HPV จากปัสสาวะ
- เก็บปัสสาวะประมาณ 15-30 มิลลิเมตร ใส่ในบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อ (ควรเก็บปัสสาวะช่วงแรกตอนเช้า)
- ส่งตัวอย่างเพื่อตรวจทางห้องปฎิบัติการ
- รอผลตรวจไม่เกิน 7 วัน
- ไม่ควรเก็บตัวอย่างในช่วงที่มีประจำเดือน งดการใช้ผลิตภัณฑ์สวนล้างช่องคลอดอย่างน้อย 3 วันก่อนการเก็บปัสสาวะ
การแปลผลตรวจ
Undetected –ไม่พบเชื้อ HPV ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แนะนำให้ตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี
Detected- พบเชื้อ HPV มีความเสี่ยงสูงควรเข้ารับการตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์และตรวจคัดกรองติดตามทุกปี
ข้อควรระวังในการเก็บปัสสาวะ
- งดการปัสสาวะอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเก็บตัวอย่าง
- งดเก็บตัวอย่างในช่วงที่มีประจำเดือน
- งดการใช้ยาที่ใส่ในช่องคลอดอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
- ไม่ต้องล้างทำความสะอาดช่องคลอดก่อนเก็บตัวอย่าง
- เก็บปัสสาวะช่วงแรกตอนเช้าของวันจะดีที่สุด
ขั้นดีของการตรวจหาเชื้อ HPV จากปัสสาวะ
- มีความแม่นยำสูง เนื่องจากเป็นการตรวจหา DNA ของเชื้อไวรัส
- สามารถเก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเอง
- สะดวก รวดเร็ว ทำให้สามารถป้องกันและรักษาได้แต่เนิ่น ๆ
- เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่กลัวเจ็บ และเขินอายจากการตรวจภายใน
- เป็นวิธีที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ
เตรียมตัวอย่างไร ก่อนตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ควรตรวจในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หรือ 5-7 วันหลังประจำเดือนหมด
- ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด หรือเจลหล่อลื่น หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอดก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
- ห้ามสวนล้างช่องคลอด หรือมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
- งดการมีเพศสัมพันธ์คืนก่อนเข้ารับการตรวจ
**เคยฉีดวัคซีน HPV แล้วยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่***
>> ควรตรวจ เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ทุกสายพัน
ติดต่อศูนย์สูตินรีเวช
รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ