ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยจำนวนมากในแต่ละปี โดยปัญหาหลักของโรคนี้ อยู่ที่การที่ผู้ที่เป็นโรคไม่ได้ตระหนักว่าตนเองเป็นโรค ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรค หรือ ไม่ยอมรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดผลแทรกซ้อนถาวรต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และนำไปสู่สาเหตุ การเสียชีวิต ในที่สุด
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คืออะไร
เป็นสภาวะผิดปกติที่บุคคลมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าระดับปกติของคนทั่วไป โดยต้องผู้ที่มีความดันโลหิตที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือเรื้อรัง ซึ่งถือเป็นสภาวะที่ต้องมีการควบคุม เนื่องจากความดันโลหิตสูง อาจก่อให้เกิดความเสียหายและเกิดความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง นำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด หรือหลอดเลือดแตกได้ นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา
เมื่อไหร่ถึงเรียกว่าเป็นความดันโลหิตสูง
การวัดค่าความดันโลหิต จะวัดออกมาได้ 2 ค่า คือ ค่าความดันตัวบน และค่าความดันตัวล่าง
- ค่าความดันตัวบน หรือที่เรียกว่า ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก มีค่ามากกว่า/เท่ากับ 140 มม. ปรอท (mm/Hg)
- ค่าความดันตัวล่าง หรือที่เรียกว่า ความดันโลหิตไดแอสโตลิก มากกว่า/เท่ากับ 90 มม.ปรอท (mm/Hg)
โดยอ้างอิงจากการวัดความดันโลหิตที่สถานพยาบาล
ค่าความดันโลหิตที่ต้องระวัง
- สูงเล็กน้อย ตัวบน 140-159 (mm/Hg). ตัวล่าง 90-99 (mm/Hg)
- สูงปานกลาง ตัวบน 160-179 (mm/Hg) ตัวล่าง 100-109 (mm/Hg)
- สูงมาก ตัวบนมากกว่า 180 (mm/Hg) ตัวล่าง มากกว่า 110 (mm/Hg)
ความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร
มากกว่า 90 % เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) มักพบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมากส่วนใหญ่กลุ่มที่ทราบสาเหตุพบได้น้อย ซึ่งเกิดได้ในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว เช่น โรคไต หลอดเลือดที่ไตตีบบครรภ์เป็นพิษ เนื้องอกบางชนิด โรคทางต่อมหมวกไตยาบางอย่าง เป็นต้น
ใครบ้างเสี่ยงความดันโลหิตสูง
- มักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี (แต่ในปัจจุบันพบในผู้ที่อายุน้อยมากขึ้นเรื่อยๆ)
- พบใน ผู้หญิงมากกว่า ผู้ชาย เล็กน้อย
- พบใน ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
- มีประวัติในครอบครัวสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- มีประวัติการดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ
- มีประวัติการสูบบุหรี่
- มีประวัติการนอนกรน
- มีประวัติการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง (อาหารเค็ม และ รสจัด)
- มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูงส่งผลแทรกซ้อน และ อันตรายต่อร่างกายอย่างไร
- ส่งผลต่อสมอง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เป็นอัมพฤกษ์/อัมพาต , เพิ่มโอกาสการเกิดภาวะสมองเสื่อม
- ส่งผลต่อหัวใจ ทำให้หัวใจโต / หัวใจขาดเลือด / เกิดภาวะหัวใจวาย หรือ หัวใจล้มเหลวฉับพลัน
- ส่งผลต่อการทำงานของไต ทำห้เกิดการทำลายหลอดเลือดในไต เสี่ยงไตวายมากขึ้น
- ส่งผลต่อหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง หรือ หลอดเลือดตีบแข็ง
- ส่งผลต่อตา ทำให้หลอดเลือดที่จอประสาทตาตีบแข็ง มีลิ่มเลือดอุดตัน หรือมีเลือดออกได้
ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกอาหารที่มีเกลือโซเดียมต่ำ
- ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
- งดบุหรี่ เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- จัดการเรื่องความเครียด และ พักผ่อนให้เพียงพอ
- หมั่นตรวจเช็คสุขภาพตนเองเป็นประจำทุก ครึ่ง ถึง หนึ่ง ปี และ เข้ารับการรักษาที่เหมาะสมหากพบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ติดต่อศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ