เคล็ดลับดูแลสุขภาพ ให้อายุยืนยาวแบบไม่ป่วย

เชื่อว่าลูก ๆ คงอยากให้คุณพ่อคุณแม่อายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรงและไม่ป่วย สาเหตุหลักที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่มีสุขภาพดีและมีอายุยืนยาว คือการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม นพ.พิเชียร วุฒิสถิรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายประกันสังคม รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย ให้เคล็ดลับในการดูแลสุขภาพแบบ 6อ.มาฝากกัน

 อ. 1  “อาหาร”

  • ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อเพิ่มสารอาหารและวิตามินให้กับร่างกาย
  • อาหารต้องมีความสะอาด ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
  • หลีกเลี่ยงสารปนเปื้อน 6 ชนิด ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารฟอร์มารีน สารกันรา และยาฆ่าแมลง
  • ควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ ควรเพิ่มผักและผลไม้เข้าไปในมื้ออาหาร
  • เลือกทานอาหารที่ย่อยง่าย
  • เน้นทานอาหารให้หลากหลาย
  • เลือกทานอาหารที่เป็นโปรตีนและไขมันดี เช่น ไข่ ถั่ว หรือเลือกทานปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • เลือกแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท
  • ในแต่ละมื้อควรมีแคลเซียม แหล่งแคลเซียม ได้แก่ ปลาเล็กปลาน้อย หรือนมไขมันต่ำ
  • ควรดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เค็ม หวาน มัน เผ็ด

 อ. 2  “ออกกำลังกาย”

ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายให้มีความเหมาะสมกับร่างกาย อย่าหักโหมจนเกินไป ออกกำลังกายแต่พอดี เช่น แกว่งแขน รำมวยจีน โยคะ ลีลาศ หรือทำสวน ปลูกต้นไม้ ให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว และควรอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที และผู้สูงอายุควรออกรับแดดยามเช้า อย่างน้อยวันละ 30 นาที ช่วยป้องกันและชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุน

สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ ควรงดออกกำลังกาย หรือควรออกกำลังกายภายใต้การดูแลของแพทย์

  • กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  • หลอดเลือดดำอักเสบและอุดตัน
  • โรคตับระยะรุนแรง
  • มีอาการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อในระยะเฉียบพลัน
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์
     

อ. 3  “อารมณ์”

ควบคุมอารมณ์ ทำสมาธิ ช่วยให้ผ่อนคลายและมีสติมากขึ้น

อ. 4  “อุบัติเหตุ”

ระวังต้องไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การลื่น หกล้ม เพราะอาจส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เสื่อมตามอายุ เช่น กระดูกหัก เป็นต้น

 อ. 5  “อดิเรก”

หางานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 อ. 6  “อนามัย”
สังเกตอาการผิดปกติ ทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะหากตรวจพบโรคตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุสิ่งที่ควรดูแล คือสุขภาพช่องปาก เพราะเมื่อสุขภาพช่องปากดี ผู้สูงอายุก็จะยังสามารถรับประทานอาหารได้ นอกจากนี้ควรดูแลสุขภาพกระเพาะและลำไส้ พยายามอย่าให้ท้องผูก ควรขับถ่ายทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ หากต้องรับประทานยาถ่าย ควรปรึกษาแพทย์

นอกจากการดูแลสุขภาพ แบบ 6อ แล้ว ลูกหลานควรพาคุณพ่อคุณแม่ไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปควรตรวจอะไรบ้าง

ตรวจคัดกรองมะเร็ง

  • มะเร็งปากมดลูก ควรตรวจทุก 3 ปีจนถึงอายุ 65 ปี
  • มะเร็งเต้านม ควรตรวจเป็นประจำทุกปี จนถึงอายุ 69 ปี
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจเป็นประจำทุกปี

ตรวจสายตา

  • อายุ 50-64 ปี ควรตรวจทุก 2-4 ปี
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 1-2 ปี

ตรวจร่างกายทั่วไป

  • อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การประเมินสภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ

  • ประเมินภาวะโภชนาการ
  • ประเมินหัวใจและหลอดเลือด
  • ประเมินภาวะกระดูกพรุน
  • ประเมินภาวะสมองเสื่อม
  • ประเมินภาวะซึมเศร้า

การตรวจทางห้องปฎิบัติการที่จำเป็น

  • ตรวจปัสสาวะ ควรตรวจเป็นประจำทุกปี
  • ตรวจภาวะซีด ตรวจทุกปีเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ตรวจหาระดับไขมันในเลือด ควรตรวจทุก 5 ปี
  • ตรวจหาเบาหวาน ควรตรวจเป็นประจำทุกปี
  • ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ควรตรวจเป็นประจำทุกปี

 

 

ติดต่อศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ