CT Calcium Score ย่อมาจาก CT Coronary Calcium Score หรือการตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ เป็นการวินิจฉัยโรคหัวใจอย่างหนึ่ง โดยจะเป็นการไปวัดตัวหินปูนในผนังหลอดเลือดแดงของหัวใจโดยตรง และจะบอกออกมาเป็นปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะในหลอดเลือดได้อย่างแม่นยำ
ใครที่ควรตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ หรือ CT Calcium Score
- ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ไขมันในเลือดสูง
- ความดันโลหิตสูง
- สูบบุหรี่
- กลุ่มที่มีภาวะเมทาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ผู้ภาวะที่เกิดจากระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง หรือมีน้ำหนักเกิน
- พนักงานออฟฟิศ ผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะ หรือในชีวิตประจำวันเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
ข้อดีตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ หรือ CT Calcium Score
- ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 10-15 นาที ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
- ปลอดภัย
- วินิจฉัยแม่นยำ
- ไม่ต้องฉีดสี หรือสารรังสีทึบแสง
- ไม่มีการนำเครื่องมือแพทย์ใดๆ เข้าสู่ร่างกาย
- สามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังเข้ารับการตรวจ
ผลตรวจตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ หรือ CT Calcium Score บอกอะไรได้บ้าง
ผลตรวจตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ หรือ CT Calcium Score ถือเป็นการประเมินการเกิดโรคหัวใจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากภาวะปกติ เราจะไม่ได้มีคราบหินปูนหรือตะกรันในหลอดเลือดหัวใจ หรือในร่างกาย หากในร่างกายมีหินปูนหรือแคลเซียมมากขึ้นเรื่อย ๆ จะจะเป็นสัญญาณที่จะบอกความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต เพื่อที่จะทำให้เราสามารถรู้ทัน เพื่อป้องกัน หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป
ระดับของแคลเซียมหรือหินปูน สามารถดูได้เป็นสกอร์
ระดับแคลเซียม = 0 ไม่มีคราบหินปูน แสดงว่าหลอดเลือดอยู่ในภาวะปกติ
ระดับแคลเซียม = 0-100 ระดับน้อย เริ่มมีการสะสมของคราบหินปูนหรือแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ แพทย์อาจจะต้องพิจารณาความเสี่ยงอื่น ๆ ประกอบ เพื่อลดปริมาณของแคลเซียม เช่น
- หากมีภาวะไขมันในเลือดสูง สิ่งที่ต้องทำ คือควรควบคุมไขมัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ภาวะไขมันอยู่ในระดับปกติ
- หากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน ดูต้องควบคุมอาการหรือรักษาให้อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้
- นอกจากนี้ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- งดการสูบบุหรี่
ระดับแคลเซียม = มากกว่า 100-400 ปริมาณหินปูนระดับปานกลาง เริ่มมีคราบหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจในปริมาณที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจในระดับปานกลาง แนวทางการแก้ไข แพทย์อาจให้รับประทานยาลดไขมันในหลอดเลือด หรือทานยาต้านเกล็ดเลือด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค
ระดับแคลเซียม = มากกว่า 400 ปริมาณหินปูนอยู่ในระดับสูง อาจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบแฝงอยู่ ภายใน 2-5 ปี เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงมาก แม้ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเพิ่มเติม เช่นการเดินหรือวิ่งสายพาน ( Exercise Stress Test) หรือทำการฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจโดยตรง
การตรวจหัวใจด้วยวิธีการตรวจหาคราบหินปูนหรือแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการป้องกันโรคหัวใจที่จะอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เมื่อรู้ความเสี่ยงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวหรือเข้ารับการรักษาก่อนที่จะเกิดโรคร้ายแรงในอนาคต
นพ.สุภาพงษ์ เอี่ยมอัครวิทย์
แพทย์เฉพาะทาง ศูนย์อายุรกรรม
คลินิกหัวใจและหลอดเลือด
รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
ติดต่อศูนย์อายุรกรรม
รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ
เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ