ตรวจเลือดแล้วไปไหน นักเทคนิคการแพทย์มีคำตอบ

หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าเมื่อเราได้รับการเจาะเลือดที่โรงพยาบาล เลือดที่ถูกเจาะไปต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลในการตรวจวิเคราะห์ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคของแพทย์ ซึ่งกระบวนการหลังการเจาะเลือด จะเป็นหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์

บทบาทของนักเทคนิคการแพทย์ จะเริ่มตั้งแต่
-การลงทะเบียนก่อนการเจาะเลือด
โดยนักเทคนิคการแพทย์จะทำการตรวจสอบรายการเลือดที่แพทย์ได้ทำการสั่งตรวจ ผ่านระบบสารสนเทศที่ทันสมัย โดยจะมีการเตรียมหลอดเลือดแบบอัตโนมัติ ที่สั่งการผ่านระบบคาร์โค้ด เพื่อยืนยันตัวตนและป้องกันการลงทะเบียนที่ผิดพลาด หรือการเจาะเลือดผิดคน


-การเจาะเลือด หรือการเก็บสิ่งส่งตรวจ
-การขนส่งเลือดเข้าสู่ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์
-นักเทคนิคการแพทย์จะทำการลงทะเบียนเลือด เพื่อนำข้อมูลการสั่งตรวจ เข้าสู่ระบบสารสนเทศของห้องปฎิบัติการ หรือที่เรียกว่า Laboratory Information System
-เข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมเลือด หรือเตรียมสิ่งส่งตรวจ

ตัวอย่างขั้นตอยการเตรียมสิ่งส่งตรวจ เพื่อตรวจวิเคราะห์ทางเคมีคลินิก
-นักเทคนิคการแพทย์จะนำเลือดไปทำการปั่นเลือดด้วยเครื่อง Centrifuge  ซึ่งจะสามารถปั่นเลือดได้ 100 หลอดต่อรอบ ภายในเวลา 5 นาที

หลังจากปั่นเลือดแล้วจะได้เซรั่ม หรือพลาสมา เพื่อนำเข้าสู่เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ซึ่งเครื่องนี้สามารถทำการตรวจวิเคราะห์ได้ 2,000-3,800 รายการต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ในหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจวัดระดับไขมัน และการตรวจตับ เป็นต้น โดยจะดำเนินการผ่านการอ่านบาร์โคด

-รับผลการตรวจวิเคราะห์ โดยผลจะถูกส่งผ่านระบบสารสนเทศ โดยนักเทคนิคการแพทย์จะทำการรายงานผล และทวนสอบผล ก่อนจะส่งผลไปยังแพทย์ผู้ทำการรักษา

ตัวอย่างการตรวจวิเคราะห์ CBC หรือที่เรียกว่าการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) เป็นการตรวจปริมาณและลักษณะของเม็ดเลือดทั้งสามชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ด

นักเทคนิคการแพทย์จะทำการไถสไลด์เพื่อย้อมสี และนำไปดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ โดยจะดูชนิดของเม็ดเลือด โดยเม็ดเลือดแดง จะดูรูปร่างและขนาด  เม็ดเลือดขาว จะดูชนิดต่าง ๆ ของเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด จะทำการดูจำนวน ว่ามีความผิดปกติของเกล็ดเลือดหรือไม่

-หลังจากนั้นนำเลือดไปเข้าเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติอีกครั้ง โดยจะดูผลควบคู่กับการดูผ่านกล้องจุลทรรศน์

-หลังจากตรวจวิเคราะห์แล้ว ผลจะถูกส่งผ่านระบบสารสนเทศ โดยนักเทคนิคการแพทย์จะทำการรายงานผล และทวนสอบผล ก่อนจะส่งผลไปยังแพทย์ผู้ทำการรักษา

นอกจากนี้บทบาทหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ ต้องมีการควบคุมคุณภาพภายใน และการเข้าร่วมประเมินคุณภาพโดยองค์กรภายนอก เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และได้รับการรับรองคุณภาพของห้องปฎิบัติการในระดับสากล เช่น มาตรฐาน ISO15189 รวมถึงมาตรฐานของงานเทคนิคการแพทย์ เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่า การตรวจสุขภาพเจาะเลือด จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพื่อช่วยติดตามการรักษาเพื่อช่วยติดตามการรักษา หรือเฝ้าระวังโรคที่อาจเกิดขึ้น

บทความโดย
ทนพญ. วรวลัญช์ ทองคำ
หน้าหน้าแผนกปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ รพ.วิชัยเวช อ้อมน้อย และทีมนักเทคนิคการแพทย์

รพ.วิชัยเวชฯ​ อ้อมน้อย
02-441-7899  ต่อ 1111 , 3124 หรือ1792
ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ