การเจาะน้ำออกจากถุงน้ำเต้านม Aspiration of Breast Cyst

การเจาะน้ำออกจากถุงน้ำเต้านม Aspiration of Breast Cyst เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาถุงน้ำเต้านม หรือซีสต์เต้านม ซึ่งเป็นสิ่งผิดปกติที่สามารถพบได้บ่อยในร่างกายของผู้หญิง

ถุงน้ำในเต้านมหรือ ซีสต์ (Cyst) เกิดจากการที่ร่างกายของผู้หญิงมีการเตรียมพร้อมที่จะให้นมบุตร ทุกเดือนตามรอบเดือน โดยฮอร์โมนเพศหญิงทำให้ถุงน้ำนมขยายขึ้น และมีการสร้างน้ำนมปริมาณไม่มากในถุง หากไม่มีการปฎิสนธิ ไม่มีการตั้งครรภ์ เมื่อมีประจำเดือน ระดับฮอร์โมนจะลดลง ทำให้ถุงน้ำเต้านมยุบลงไปด้วย แต่ในบางครั้งจะพบว่ามีบางถุงที่พองอยู่ จึงทำให้สามารถมองเห็นเป็นถุงน้ำจากการทำอัลตราซาวด์

ลักษณะอาการของถุงน้ำเต้านม
       ถุงน้ำในเต้านมจะมีลักษณะเหมือนลูกโป่ง โดยอาจจะคลำได้ก้อนที่เต้านม ซึ่งถ้ามีน้ำเพิ่มขึ้น อาจทำให้มีอาการปวดได้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นในช่วงที่ฮอร์โมนมามาก คือก่อนเป็นประจำเดือน โดยปกติถุงน้ำเจต้านมหรือซิสต์ จะไม่ค่อยมีอาการ ยกเว้นเมื่อมีการอักเสบหรือติดเชื้อ หรือช่วงมีประจำเดือนที่ไปกระตุ้นให้ซีสต์โตขึ้น ทำให้เต้านมตึง จนรู้สึกเจ็บหรือปวดบริเวณเต้านม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เพราะคลำเจอก้อนซีสต์ที่เต้านมด้วยตัวเอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดถุงน้ำเต้านม

  • ผู้ที่ประจำเดือนมาเร็วก่อนอายุ 12 ปี
  • ผู้ที่มีบุตรคนแรกหลังอายุ 35 ปี หรือไม่มีบุตร
  • ให้นมบุตรน้อยกว่า 3 เดือน หรือไม่ได้ให้นมบุตร
  • กินยาคุมกำเนิดนานเกิน 5 ปี
  • ประจำดือนหมดช้า หลังอายุ 50 ปี
  • มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม

วิธีการตรวจวินิจฉัย

  1. ตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์

โดยเบื้องต้นแพทย์สามารถวินิจฉัยซีสต์ หรือถุงน้ำเต้านมได้ทันทีด้วยการคลำก้อนเนื้อ หากซีสต์ที่ผู้ป่วยเป็นขึ้นที่ผิวหนังหรือบริเวณเต้านมที่สามารถคลำเพื่อวินิจฉัยได้ แต่วิธีนี้จะไม่สามารถระบุได้ว่าก้อนที่ตรวจพบนั้น เป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ จึงต้องมีการพิจารณาให้ตรวจด้วยวิธีอื่นเพื่อยืนยันเพิ่มเติม

  1. ตรวจวินิจฉัยด้วยการอัลตร้าซาวด์เต้านม (Ultrasound Breast)

เป็นการตรวจเต้านมด้วยการส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเข้าไปในเต้านม จากนั้นคลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมาที่เครื่องแสดงผลว่าเนื้อเยื่อที่พบปกติหรือไม่ และนอกจากนี้ยังสามารถบอกได้ว่า สิ่งที่พบเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ

  1. การตรวจวินิจฉัยด้วยแมมโมแกรม (Digital Mammogram) เป็น

การตรวจเต้านมด้วยเครื่องมือที่ใช้รังสีชนิดพิเศษเหมือนการเอกซ์เรย์ ซึ่งการตรวจแมมโมแกรมจะเป็นการฉายภาพเต้านมด้านละ 2 รูป ทั้งการถ่ายจากด้านบนและด้านข้าง รวมเป็น 4 รูป โดยแพทย์จะสามาถเห็นรายละเอียดของเนื้อเยื่อ ต่อมน้ำนม ไขมัน หินปูน และก้อนเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งเจาะจงตำแหน่งได้อย่างตรงจุด

  1. การใช้เข็มเจาะที่เต้านมเพื่อดูดของเหลวไปตรวจ โดยวิธีนี้แพทย์

จะทำการเจาะดูดของเหลวออกจากถุงน้ำเต้านม ถ้าของเหลวที่ดูดออกมาไม่มีเลือดปนก็ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจอย่างอื่นต่อ

การรักษาถุงน้ำเต้านม
หากผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บหรือปวด อาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่อาจจะติดตามตรวจดูขนาดของถุงน้ำว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ แต่หากเป็นถุงน้ำหรือซีสต์ที่ผู้ป่วยมีอากรปวดร่วมด้วย และก้อนมีขนาดใหญ่ แพทย์อาจจะแนะนำให้การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายดังนี้

  1. การเจาะดูดของเหลวด้วยเข็ม โดยแพทย์จะเจาะดูดเอาน้ำด้านในออก เมื่อดูดน้ำออกแล้วอาการจะดีขึ้น หลังจากเจาะเอาน้ำออกแล้วประมาณ 50% ถุงน้ำจะหายโดยไม่กลับมาเป็นอีก แต่อีก 50% มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกได้ ซึ่งหากยังมีอาการอยู่ แพทย์อาจจะทำการเจาะเอาน้ำออก โดยสามารถทำได้อีก 1-2 ครั้ง
  2. การใช้ฮอร์โมน คือการใช้ยากลุ่มยาคุมกำเนิด เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกาย และประจำเดือน ซึ่งก็ช่วยลดการเกิดถุงน้ำได้ หรือการหยุดฮอร์โมนทดแทนในกลุ่มผู้หญิงวัยทอง ก็จะสามารถช่วยเรื่องถุงน้ำเต้านมได้เช่นเดียวกัน
  3. การผ่าตัด ซึ่งจะพิจารณาในผู้ป่วยบางราย เช่น
  • ผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างมาก
  • มีการเจาะดูดน้ำออกแล้วพบว่ามีเลือดปน
  • ถุงน้ำมีก้อนเนื้อปนอยู่ด้านใน
  • เจาะดูดของเหลวด้วยเข็มมากว่า 2 ครั้งและยังกลับมาเป็นซ้ำ

 

ติดต่อศูนย์ศัลยกรรมผ่านกล้อง
 รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
02-441-7899  ต่อ 1111 , 3124 หรือ1792
ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ