ทำอย่างไรเมื่อ นิ้วหัวแม่เท้าเอียง เกผิดรูป

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เกผิดรูปคืออะไร

นิ้วหัวแม่เท้าเอียง เกผิดรูป นิ้วโป่งเท้าเอียง หรือนิ้วโป่งเท้าเก (Hallux Valgus) เป็นภาวะที่มีการผิดรูปของกระดูกนิ้วโป้ง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้หญิง สามารถพบได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงสูงอายุ ลักษณะความผิดปกติที่พบ  คือ นิ้วหัวแม่เท้าจะเอียงเข้าหานิ้วชี้ และมีกระดูกปูดบริเวณข้อต่อตรงโคนนิ้วหัวแม่เท้าหัวแม่เท้าทางด้านในนูนออกมา บริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า  หากปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดอาการเจ็บ ปวดมากขึ้นเวลาเดิน วิ่ง หรือใส่รองเท้า นพ.อภิสิทธ์ รัตนธนาสาร ศัลยแพทย์เท้าและข้อเท้า ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้

เท้าคุณมีอาการผิดรูปหรือเปล่า

สาเหตุนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เกผิดรูป

  • การสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับเท้า เช่น รองเท้าที่บีบ หรือรัดปลายเท้า รองเท้าหัวแหลม รองเท้าที่หน้าแคบเกินไป
  • โครงสร้างเท้าผิดปกติจากพันธุกรรม เช่น มีภาวะอุ้งเท้าแบน ข้อนิ้วหัวแม่เท้ายืดหยุ่นมากกว่าปกติ
  • โรคประจำตัวเช่น รูมาตอยด์ หรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • การบาดเจ็บบริเวณข้อต่อนิ้วหัวแม่เท้า จนทำให้เอ็นด้านในฉีกขาด

 

นิ้วหัวแม่เท้าเอียงเกผิดรูปโรคที่พบบ่อยในผู้หญิง

 

อาการของนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เกผิดรูป

จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากนิ้วโป้งเท้าจะเอียงน้อย ๆ เข้าหานิ้วชี้ มีกระดูกโคนนิ้วนูนขึ้นมาแต่ไม่มาก แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน โดยเฉพาะยังใส่รองเท้าที่คับ ๆ หัวแคบ ๆ นิ้วโป้งเท้าก็จะโก่ง เก หรือเอียงมากขึ้น โดยอาการของภาวะนิ่วหัวแม่เท้าเอียงที่พบได้ คือ

  • มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว หรือด้านในของนิ้วหัวแม่เท้า บริเวณที่มีกระดูกนูนออกมา และมีอาการปวด บวม แดง เมื่อลงน้ำหนัก ใส่รองเท้า
  • ลักษณะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงเข้าหานิ้วชี้ และมีกระดูกหัวแม่เท้าทางด้านในนูนออกมา
  • ผิวหนังบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้ามีลักษณะหนาแข็ง

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

  • ถุงน้ำอักเสบ บริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า (Birsitis)
  • นิ้วเท้าหงิกผิดรูป (Hammer Toe)
  • ตาปลา (Callus)

การรักษานิ้วหัวแม่เท้าเอียง เกผิดรูป
การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ซึ่งไม่สามารถทำให้การรักษาภาวะนี้ขึ้นอยู่ความรุนแรง และอาการของโรคโดยแบ่งออกเป็น 2 วิธี หลักๆคือ

  1. การรักษาแบบระดับประคับประคองอาการ
  • การรับประทานยาแก้ปวด
  • การใส่รองเท้าหน้ากว้าง หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง และรองเท้าหน้าแคบ
  • การใช้อุปกรณ์ซิลิโคน ช่วยถ่างนิ้วหัวแม่เท้า (Gel Toe Spreader) หรือแผ่นซิลิโคน ช่วยลดการเสียดสี (Bunion Protector)
  • การประคบเย็น และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด
  1. การรักษาโดยการผ่าตัด
  • แพทย์จะพิจารณาทำการรักษา โดยการผ่าตัด เมื่อการรักษาแบบประคับประคองไม่ประสบผลสำเร็จ โดยการผ่าตัด มีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค

 

เช็กนิ้วหัวแม่เท้าเอียงเกผิดรูป

 

สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาการปวดเจ็บบริเวณนิ้วเท้า ข้อเท้า สามารถขอเข้ารับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อยได้ทุกวัน โดยแพทย์จะประเมินอาการของท่าน ซึ่งหากเข้ามาปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้น ก็สามารถเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งแพทย์จะให้คำปรึกษา และวางแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด

 

ติดต่อ ศูนย์กระดูกและข้อ
รพ.วิชัยเวชฯ​ อ้อมน้อย  
02-441-7899  ต่อ 1111 , 3124
หรือ1792 /ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ