ปวดท้องน้อยบ่อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

อาการปวดท้องน้อย เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับใครหลาย ๆ คน บางทีอาจมีอาการปวดมาก ปวดน้อย ปวดนาน หรือปวดบ่อย แต่ผู้ป่วยอาจจะคิดว่าไม่เป็นอะไร เพราะเข้าใจว่าอาจเป็นแค่อาการปวดท้องปกติ  จึงแก้ปัญหาด้วยการใช้ยาบรรเทาปวดเพื่อรักษาเบื้องต้น และปล่อยไว้จนลุกลามกลายเป็นอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหาร้ายแรง เพราะจะทำให้เจ็บปวดมาก จนทุกข์ทรมาน จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ อีกทั้งยังส่งผลเสียด้านอารมณ์และจิตใจ เพราะผู้ป่วยมักมีอาการเครียด เนื่องจากอาการปวดเรื้อรัง

ปวดท้องน้อยเรื้อรังเกิดจากอะไร

อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุเดียว หรือเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยอาการแรกเริ่มมักจะเป็นการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ จนกระทั่งอาการรุนแรงเรื้อรังมากขึ้น ซึ่งการปวดอาจเกิดจาก

  • ปวดประจำเดือน โดยเฉพาะผู้หญิงที่ไม่เคยปวดมาก่อน และมีอาการเริ่มปวดมากขึ้นกว่าเดิม-เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งเป็นภาวะที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกภายนอกมดลูก ซึ่งส่วนมากจะพบบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • เนื้องอกในมดลูก คือ การที่กล้ามเนื้อของมดลูกเจริญเติบโตกลายเป็นเนื้องอกแต่ไม่ใช่มะเร็ง และก้อนเนื้อจะโตขึ้นจนไปเบียดกับอวัยวะส่วนอื่น จึงทำให้มีอาการปวดขึ้น
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือที่ท่อไต
  • กล้ามเนื้อหน้าท้อง หลัง กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอักเสบ

หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น และมีอาการปวดรุนแรงเป็นระยะ เป็นเวลานาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันที และรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

พญ.รัชฎาวัลย์ ธรรมคุณานนท์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย

ติดต่อศูนย์สูตินรีเวช
รพ.วิชัยเวชฯ​ อ้อมน้อย  02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ  เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ