มะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้อันดับ 1 ในเพศหญิง พบได้บ่อยที่สุด และเป็นมะเร็งที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของเพศหญิง  แต่ในเพศชาย แม้จะพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่มาก แต่ก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นเดียวกัน นพ.ศิษฎา หาญสุรนันท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์อายุรกรรม และคลินิกมะเร็ง รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เพื่อให้ทุกคนรู้ถึงปัจจัยเสี่ยง  และแนวทางการป้องกันมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม คืออะไร เกิดจากอะไร

มะเร็งเต้านม คือ การที่มีเซลล์ของเนื้อเต้านม ไม่ว่าเพศชายหรือเพศหญิงที่เติบโตขึ้นเอง โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และอาจมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นต่อไปได้ ประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านม เริ่มจากเซลล์ผิดปกติในท่อน้ำนม การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกของโรค จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น และผู้ป่วยมีโอกาสรักษาหายได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม

เพศชาย

  • พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม เช่นมี การกลายพันธุ์ของยีนบางตัว เช่น ยีน BRCA
  • การได้รับยาฮอร์โมนบางอย่างที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเพศบางอย่างที่สูงขึ้น
  • เกิดจากภาวะ Cryptorchidism คือ อัณฑะไม่ได้อยู่ที่จุดที่ควรจะเป็นตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก

เพศหญิง

  • อายุ อายุที่มากขึ้น ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
  • ผู้ที่มีประวัติได้รับฮอร์โมนเพศนาน ๆ เช่น ผู้หญิงที่ประจำเดือนหมดเร็ว หรือผู้หญิงที่หมดประจำเดือนช้า
  • ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์ ไม่เคยให้นมบุตร
  • ผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนอื่น ๆ มากจนเกิดไป เช่น การได้รับยาคุมกำเนิดบางชนิดที่มีฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจนสูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ ใช้ยาคุมกำเนิดมากว่า 1 ปีขึ้นไป มีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย ไม่เคยตั้งครรภ์และไม่เคยให้นมบุตรเป็นต้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่า
  • มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
  • เกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 ที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
  • มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
  • ปัจจัยอื่นๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นต้น

ช่วงอายุที่มักตรวจพบมะเร็งเต้านม

ส่วนมากจะพบผู้ป่วยผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ สามารถจะเจอโรคมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุน้อยรองลงมา โดยสามารถพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่อายุ 20-40 ปี

มะเร็งเต้านม แบ่งเป็นกี่ระยะ

สามารถแบ่งระยะโรคได้เป็น 4 ระยะโรคคล้ายกับมะเร็งชนิดอื่น

  • ระยะที่ 1 พบก้อนขนาดเล็ก
  • ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งโตเพิ่มขึ้น และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 4 มะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น หรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองอีกด้านของมะเร็งเต้านม ซึ่งในระยะนี้ถือเป็นมะเร็งระยะแพร่กระจาย

วิธีป้องกันโรคมะเร็งเต้านม

  • แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีเมมโมแกรม (mammogram) และอัลตราซาวด์เต้านม (ultrasound breast) โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 40-50 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจทุก 1 ปี

สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งตับ หรือมีญาติ หรือคนรู้จักเป็นมะเร็งตับ สามารถขอเข้ารับคำปรึกษาที่คลินิกมะเร็ง

รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อยได้ทุกวัน โดยแพทย์จะประเมินจากระยะของมะเร็งของท่าน ซึ่งหากเข้ามาปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้น ก็สามารถเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งแพทย์จะให้คำปรึกษา และวางแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด

 

ติดต่อ คลินิกมะเร็ง ศูนย์อายุรกรรม
รพ.วิชัยเวชฯ​ อ้อมน้อย  
02-441-7899  ต่อ 1111 , 3124
หรือ1792 /ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ