การติดเชื้อดื้อยาปฎิชีวีนะในโรงพยาบาล ถือเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำให้ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 10 ในโรงพยาบาลเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือบางรายอาจจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เชื้อดื้อยา คืออะไร
เชื้อดื้อยา คือเชื้อโรคที่สามารถทนทานต่อฤทธิ์ของยาปฎิชีวนะที่เคยใช้ได้ผลในการฆ่าเชื้อโรคชนิดนั้นมาก่อน เชื้อดื้อยาเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่พบได้โดยทั่วไป ทั้งบนพื้น ในน้ำ หรือแม้แต่ผิวหนังของเรา โดยเชื้อดื้อยา สามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน หากเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะส่งทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้
ทำไมถึงเกิดการติดเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ
ส่วนใหญ่มักเกิดกับ
- ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลนาน ๆ
- ผู้ป่วยที่ได้รับอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน เช่น ท่อช่วยหายใจ สายสวนหลอกเลือด สายสวนปัสสาวะ
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะมากเกินไป หรือหลายชนิด
- ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ซึ่งหากติดเชื้อดื้อยา อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้การรักษายากขึ้น เช่น ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ ปอดอักเสบติดเชื้อ กระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ ค่าใช้จ่ายมากขึ้น บางรายอาการแย่ลงจนอาจเกิดการเสียชีวิต
รู้ได้ยังไงว่าเราติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ
ปกติจะไม่สามารถรู้ได้ว่า มีเชื้อดื้อยาอยู่ในร่างกายหรือไม่ ข้อสังเกตเบื้องต้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วย แต่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะนำเชื้อไปเพาะ เมื่อผลออกมาถึงจะทราบว่า คนไข้อาจติดเชื้อดื้อยา
การสังเกตเบื้องต้น โดยการสังเกตจากพฤติกรรมเสี่ยง ดังนี้
- ใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยและต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ครบตามกำหนดเวลา
- ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ตรงตามขนานยาที่จะได้รับ
- ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ
- ใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์วงกว้างเกินความจำเป็น
แล้วจะหยุดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยังได้อย่างไร?
วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การทำความสะอาดมือ ล้างมือบ่อย ๆ เพราะเชื้อดื้อยามักอาศัยอยู่บนผิวหนัง หากทำความสะอาดมือบ่อย ๆ ก็จะสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผ่านการสัมผัสได้
สำหรับคำแนะนำอื่น ๆ เพิ่มเติม
- สวมหน้ากากอนามัย
- กินอาหารปรุงสุก
- ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนกินยาปฏิชีวนะ
- ไม่กินยาปฎิชีวนะพร่ำเพรื่อ
- มาโรงพยาบาลเมื่อจำเป็น
- ไม่ร้องขอให้คุณหมอรับรักษาในโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
แต่หากมีความจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลจริง ๆ จะทำอย่างไร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาภายในโรงพยาบาล
- ควรอยู่ในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้
- ใช้อุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่จัดแยกไว้ให้ เช่น กระโถน หมอน ผ้าห่ม กะละมังเช็ดตัว
- เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว ให้แยกลงภาชนะสำหรับใส่ผ้าเปื้อน
- ขยะติดเชื้อเปื้อนเลือด น้ำลาย เสมหะ ให้ทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้
- เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอ มีเสมหะ ให้สวมผ้าปิดปากและจมูก หลังใช้ให้ทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อ
มาร่วมหยุดเชื้อดื้อยากันนะคะ
ติดต่อศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ