วิธีล้างจมูกให้ลูกง่าย ๆ ด้วยน้ำเกลือ วิธีล้างจมูกให้ปลอดภัย

การล้างจมูกให้ลูกหรือล้างจมูกให้เด็กแบบง่าย ๆ ด้วยน้ำเกลือ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ค่ะ การล้างจมูก เป็นวิธีการทำความสะอาดหรือชำระล้างสิ่งสกปรกโพรงในจมูก หรือในไซนัสของลูกน้อยออกไป ด้วยการสวนล้างโดยใช้น้ำเกลือ ซึ่งการล้างจมูก ไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะเด็กที่เป็นภูมิแพ้เท่านั้น เด็กที่สุขภาพดีก็สามารถล้างจมูกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกได้

ประโยชน์จากการล้างจมูก

  • เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกบริเวณโพรงจมูกหรือไซนัสให้หมดไป เช่น น้ำมูก สารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ
  • กำจัดมูกเหนียวที่ตกค้างในโพรงจมูก ทำให้โพรงจมูกสะอาดขึ้น
  • ช่วยให้หายใจได้โล่งมากขึ้น
  • บรรเทาอาการหวัดเรื้อรัง
  • บรรเทาอาการคัดจมูก หรืออาการระคายเคืองในโพรงจมูก
  • ลดจำนวนของเชื้อโรคที่อยู่ภายในโพรงจมูก ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคในโพรงจมูก
  • ป้องกันการลุกลามของไซนัสไม่ให้ลงไปยังปอด
  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุโพรงจมูก
  • สำหรับลูกหรือเด็ก ๆ คนไหนที่ต้องมีการพ่นยา การล้างจมูกจะช่วยให้ตัวยาสัมผัสกับเยื่อบุโพรงจมูกได้มากขึ้น ทำให้ยาออกฤทธิ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยควรล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมู

ใครบ้างที่ควรล้างจมูก

  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ
  • ผู้ที่เป็นไซนัส ไซนัสอักเสบ
  • ผู้ที่เป็นโรคหอบ หืด
  • เป็นหวัดคัดจมูก
  • มีน้ำมูกหรือเสมหะมาก จนรู้สึกหายใจไม่สะดวก
  • เด็กที่ได้รับฝุ่นควัน หรือเจอกับมลภาวะทางอากาศ
  • เด็กที่ต้องใช้ยาพ่นจมูก
  • หรือเด็กสุขภาพดี ที่ต้องการทำความสะอาดโพรงจมูก ก็สามารถล้างจมูกได้

อุปกรณ์สำหรับการล้างจมูกให้ลูก

  • น้ำเกลือล้างจมูก ที่มีความเข้มข้น 0.9% สามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาลหรือร้านขายยาทั่วไป
  • ภาชนะหรือถ้วยสำหรับใส่น้ำเกลือ
  • ไซริ้งค์สำหรับล้างจมูก หรือกระบอกฉีดยาพลาสติก เด็กเล็กควรใช้ขนาด 5-10 cc. เด็กโตควรใช้ขนาด 10-20 cc.
  • ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าสำหรับกันน้ำเปียก
  • กะละมัง หรือภาชนะสำหรับรอง หรือหากไม่ใช้ภาชนะ อาจทำการล้างจมูกที่อ่างล้างหน้าก็ได้
  • ผ้ากันเปียก

ขั้นตอนการล้างจมูก

  1. ล้างมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สะอาด
  2. ห่อผ้ากันเปียกบริเวณคอหรือหน้าอก เพื่อป้องกันน้ำเปียกเวลาล้างจมูก
  3. ให้ลูกถือภาชนะสำหรับรองน้ำล้างจมูก
  4. เทน้ำเกลือลงในภาชนะหรือถ้วยที่เตรียมไว้
  5. ใช้กระบอกฉีดยาพลาสติกหรือไซริ้งค์ ดูดน้ำเกลือขึ้นมาประมาณ 5-10 มิลลิเมตร
  6. จัดท่าเด็กให้โน้มตัวไปข้างหน้า ก้มหน้าเล็กน้อยเหนือภาชนะที่รองรับน้ำ
  7. ทำการล้างจมูกข้างที่มีน้ำมูกหรือข้างที่มีอาการคัดจมูกน้อยกว่า
  8. พยายามจัดกระบอกฉีดยาพลาสติกหรือไซริ้งค์ให้แนบสนิทกับจมูกข้างใดข้างหนึ่ง แล้วให้เด้กกลั้นหายใจ ก้มหน้า อ้าปาก หรือจะให้เด็กร้อง อา…….โดยลาดเสียงยาว ๆ แทนก็ได้
  9. ขณะกลั้นหายใจ ค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก เพื่อให้ไหลผ่านโพรงจมูกข้างที่สอดกระบอกฉีด แล้วไหลผ่านไปยังโพรงจมูกอีกข้างหนึ่ง
  10. หากมีน้ำมูกค้างอยู่ให้สั่งออกเบาๆ หรือมีน้ำเกลือบางส่วนไหลออกมาทางปาก ให้เด็กบ้วนทิ้ง
  11. ทำซ้ำที่จมูกอีกข้าง
  12. หรือทำซ้ำจนกว่าน้ำมูกจะแห้ง หรือน้ำที่ไหลออกมาจะเป็นน้ำสีใส ไม่มีน้ำมูกหรือสิ่งสกปรกปนเปื้อนออกมา

 

สามารถล้างจมูกได้บ่อยเมื่อมีอาการคัดจมูกหรือหายใจไม่ออกหรืออาจล้างจมูกได้วันละ 2-3 ครั้ง โดยการล้างจมูกมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

 

คลินิกกุมารเวช
รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
02-441-7899  ต่อ 1111 , 3124 หรือ1792
ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ