ทำความรู้จัก Helicobacter Pylori หรือเชื้อเอช.ไพโลไร
เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งบางรายอาจไม่มีอาการ เชื้อนี้เป็นสาเหตุสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านทางน้ำลาย การรับประทานอาหารร่วมกัน และกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่
องค์การอนามัยโลกจัดให้เชื้อ H.Pylori เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็ง (Classl Carcinogen) เช่นเดียวกับบุหรี่ และไวรัส ตับอักเสบบี ดังนั้น การกำจัดเชื้อให้หมด จึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารในอนาคตได้
การวินิจฉัยเพื่อคัดกรอง เชื้อเอช.ไพโลไร
1.ส่องกล้องในกระเพาะอาหาร
2.เจาะเลือดตรวจหาแอนติบอดี้ต่อเชื้อ (บอกการติดเชื้อในปัจจุบัน)
3.ตรวจอุจจาระหาแอนติเจนของเชื้อ
4.ตรวจหาพยาธิวิทยาโดยย้อมสีชื้นเนื้อ
5.ตรวจลมหายใจ (Urea Breath Test)
การตรวจหาเชื้อ H.Pylor ด้วยวิธีเป่าลมหายใจ 13C-UBT (UREA BREATH TEST)
เป็นการตรวจหาเชื้อ H.pylor ในกระเพาะอาหาร จากการวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ (H.pylori) เป็นการตรวจคัดกรอง และติดตามการรักษาที่ได้ผลเป็นอย่างดี เป็นวิธีการที่ได้การรับรองมาตรฐานสากล และยังเป็นวิธีการตรวจหาการติดเชื้อแบบ non-invasive ที่มีความแม่นยำ และปลอดภัยสูง
ข้อดีของการตรวจหาเชื้อ เชื้อเอช.ไพโลไร
ด้วยวิธีตรวจลมหายใจ หรือ Urea Breath Test
- ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด
- ดูดซึมได้รวดเร็ว
- เม็ดยาที่ต้องรับประทาน มีรสส้ม ทำให้รับประทานง่าย
- บ่งบอกสถานะการติดเชื้อได้ครอบคลุมในกระเพาะอาหาร
- มีความไว และความแม่นนำสูง
- ไม่เป็นสารรังสี
- ปลอดภัยต่อเด็ก และสตรีมีครรภ์
- ได้รับรองมาตรฐานยุโรป
- ไม่เหลือสารตกค้างในร่างกาย
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
- งดอาหารเครื่องดื่ม และบุหรี่ ก่อนการตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- งดสูบบุหรี่ก่อนการตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดก่อนตรวจอย่างน้อย 3 วัน
- งดยากลุ่มปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อก่อนการตรวจอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- งดยาลดการหลั่งกรดกลุ่ม PPI และกลุ่ม P-CABs ทุกชนิดก่อนการตรวจอย่างน้อย 2สัปดาห์
- งดอาหารกลุ่มที่มียูเรียสูง เช่น น้ำอ้อย น้ำสับปะรด
ขั้นตอนการทดสอบ
- เป่าลมหายใจ ลงในถุงตัวอย่าง 00Minute Bag (Base Line) จนเต็มถุง
- ปิดฝาถุงให้สนิท
- ละลาย Granule 13C โดยเติมน้ำเปล่า 100 มิลลิลิตร ลงในภาชนะ ผลมให้เข้ากันแล้วดื่มทันที
- นั่งอยู่กับที่ 30 นาที
- เป่าลมหายใจลงในถุงตัวอย่างใบที่ 2 00Minute Bag (Base Line) จนเต็มถุง
- เก็บถุงตัวอย่างทั้งสองใบ ส่งเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์
การระบาด ในประเทศไทยพบผู้ใหญ่ประมาณ 40% ติดเชื้อเอช ไพโลไร ส่งผลให้เกิดโรค ดังนี้
- กระเพาะอาหารอักเสบ
- แผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง
- แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น
- กระเพาะอาหารแห้งฝ่อ
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่กระเพาะอาหาร
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
อาการต้องสงสัย ที่ควรมาพบแพทย์
- ปวดแน่นท้อง
- จุดเสียดลิ้นปี่
- ท้องอืด เรอบ่อย
- อาหารไม่ย่อย
- อุจจาระสีดำ
- ผู้ที่มีญาติสายตรง
- เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
- โลหิตจาง
การรักษาและการป้องกัน
- กรณีตรวจพบ เชื้อเอช.ไพโลไร ควรพบแพทย์เพื่อรับการยับยั้งการหลั่งกรดร่วมกับยาปฏิชีวนะ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยากลุ่ม NSAIDs เพื่อลดการเกิดแผลในกระเพาะ
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
บทความโดย :
ทนพญ. วรวลัญช์ ทองคำ (หัวหน้าแผนกปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์)
ร่วมกับ บริษัท เฮาส์เซน เบอร์นสไตน์ จำกัด
รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
02-441-7899 ต่อ 1111 , 3124 หรือ1792
ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ