โรคมือเท้าปาก สังเกตอาการและวิธีป้องกัน

โรคมือเท้าปาก หรือ Hand Foot and Mouth Disease เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) พบได้บ่อย ในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี มักติดภายในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในที่อยู่ร่วมกันอย่างแออัด จะมีโอกาสที่เกิดการระบาดได้

สามารถเกิดการติดเชื้อได้ตลอดทั้งปี แต่จะเพิ่มปริมาณเด็กป่วยขึ้นในฤดูฝน ซึ่งมีอากาศจะเย็นและชื้น

การแพร่กระจายเชื้อ

การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสสู่ปากโดยตรง สามารถติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย

  • เชื้อไวรัสติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก  น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย สำหรับการติดเชื้อจากอุจจาระจะเกิดได้ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาจนกระทั่งหายป่วย แล้วประมาณ 1 เดือน แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า
  • เกิดจากการไอจามรดกัน
  • หายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของผู้ป่วย

อาการของโรคมือเท้าปาก

หลังได้รับเชื้อแล้ว 3-6 วัน จะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มจากมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บมาก กลืนน้ำลายไม่ได้ และไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ่งแก้ม จะพบตุ่มหรือผื่นนู่นสีแดงเล็ก  ที่ฝ่ามือ นิ้มมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นได้ด้วย ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส บริเวณรอบๆ อักเสบและแดง  ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุม ตื้นๆ อาหารจะทุเลาและหายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน

การรักษาโรคมือเท้าปาก

  • โรคมือเท้าปากยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จะเป็นการให้ยารักษาตามอาการ เช่า ยาลดไข้  ยาแก้ปวดในรายที่มีแผลที่ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
  • ควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ พักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อน อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวด
  • ปกติอาการของโรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อไวรัสเอนเทอโร 71 (enteroviruses 71 )  อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลอย่างใกล้ชิด

**หากพบว่ามีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือน้ำดื่ม อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดภาวะสมองอักเสบ กล้ามเนือ้หัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปาก ซึ่งจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

สามารถพาเด็ก ๆ เข้ารับวัคซีนป้องกัน มือ เท้า ปาก สายพันธุ์ที่รุนแรง enterovirus 71 ควบคู่กับการรักษาสุขอนามัยต่าง ๆ ทั้งเด็กและผู้ปกครอง ล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำสบู่ ก่อนและหลังเตรียมอาหาร หรือ ก่อนรับประทานอาหาร และภายหลังการขับถ่าย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ควรตัดเล็บให้สั้น หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ขวดนม แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ ใช้ ช้อนกลาง

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงเรียน

หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแยก เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และควรอยู่บริเวณบ้านที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี ใช้ผ้าปิดจมูกปาก เวลาไอหรือจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน และคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก ผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้จัดการสถานรับเลี้ยงเด็ก ต้องดำเนินการ ดังนี้

  • ปิดห้องเรียนให้เด็กป่วยหรือปิดทั้งโรงเรียนชั่วคราว ประมาณ 5-7 วัน
  • ทำความสะอาดสถานที่ เพื่อฆ่าเชื้อโรค บริเวณห้องน้ำ ห้องครัว โรงอาหาร บริเวณที่เล่นของเด็ก สนามเด็กเล่น โดยใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว (20มิลลิลิตร ต่อ 1 ลิตร) หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ตามครัวเรือน
  • ทำความสะอาดของเล่น เครื่องใช้ของเด็กด้วย การซักล้าง และผึ่งแดดให้แห้ง
  • หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดเข้าถึง

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น จากโรคมือเท้าปาก

วัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก จากไวรัส EV71 สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน -5 ปี

 

ติดต่อคลินิกกุมารเวช รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ