เบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการควบคุมการเผาผลาญน้ำตาลของอินซูลิน (Insulin) ในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน เมื่อระบบนี้เกิดความผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ระบบหลอดเลือด ระบบประสาท และอาจนำไปสู่การเสียการมองเห็น มือบวม เท้าบวม หัวใจวาย
การตรวจเบาหวานคืออะไร
เป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดว่าสูงเกินไปหรือไม่ ซึ่งมีการตรวจหลายประเภทที่ใช้ในการวินิจฉัยหากพบว่าค่าน้ำตาลเสี่ยงเป็นเบาหวาน แพทย์จะกำหนดแนวทางการปรับพฤติกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การกินอาหาร และยาช่วยควบคุมระดับน้ำตาลเพื่อป้องกันอาการที่ร้ายแรงในอนาคต หากผลตรวจพบว่าไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อยที่จะเป็นเบาหวาน คุณก็ยังควรมาตรวจเบาหวานเป็นระยะอย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ
ใครบ้างที่ควรตรวจเบาหวาน
กลุ่มที่ 1 ผู้ที่มีสัญญาณเตือนว่าเป็นโรคเบาหวาน
- หิวน้ำบ่อย
- รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
- รู้สึกหิวบ่อย หิวหลังจากกินอาหารไม่นานเห็นภาพไม่ชัด
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- แผลหายช้ากว่าปกติ
กลุ่มที่ 2 ผู้ที่ไม่มีสัญญาณเตือน แต่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง BMI มากกว่า 25 kg/m2 หรือมีรอบเอวเกินมาตรฐาน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดตีบ
- คนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ไม่ออกกำลังกาย
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
- เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดเกิน 4 kg
- เป็นโรคกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่
การตรวจเบาหวานแบบโมโกลบิน เอ วัน ซี HbA1c :Hemoglobin A1c
เป็นวิธีวัดค่าน้ำตาลในเลือดสะสมในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อทำให้ผู้ป่วยรับทราบสภาวะเบาหวานของตัวเองที่ผ่านมานั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทำกิจวัตรประจำวันมากน้อยแค่ไหน เพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ
การตรวจ HbA1c เบาหวานชนิดเลือด โมโกลบิน เอ วัน ซี HbA1c มีจุดเด่นการการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ในระยะยาว เช่น ภาวะการเสื่อมสภาพของตา ไต และหัวใจ เป็นต้นผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้ปกติ แล้วมาโรงพยาบาลตามเวลาที่นัดหมาย จากนั้นทางแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเลือด โดยทำการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วที่ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที จากนั้นผู้ป่วยจะทราบผลทันทีหลังทำการเจาะเลือดตรวจเบาหวาน
การอ่านค่าผลตรวจ
- ระดับ < 5.7 mg% = ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ไม่เป็นเบาหวาน
- ระดับ >5.7 6.4 mg% = ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
- ระดับ ≥ 6.5 mg% = ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน
การตรวจเลือดปลายนิ้ว
การตรวจเบาหวานแบบใช้เลือดปลายนิ้ว (capillary fasting blood glucose) เป็นวิธีเจาะเลือดตรวจเบาหวานได้ด้วยตัวเอง เพื่อรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างเหมาะสม
การตรวจเบาหวานแบบใช้เลือดปลายนิ้ว มีจุดเด่นที่สามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง โดยใช้เครื่องที่ตรวจเลือดเบาหวานแบบพกพา ในการติดตามระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้ทันที ผู้ป่วยทำการใช้เข็มเจาะปลายนิ้ว จากนั้นนำเลือดหยดลงไปในแถบวัดระดับน้ำตาลในเครื่อง แล้วรอผลตัวเลขว่าระดับน้ำตาลอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยประมาณไหน
ค่าผลตรวจเลือดปลายนิ้วควรอยู่ที่เท่าไหร่
- ผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน น้ำตาลก่อนทานอาหาร ระดับค่าเลือดควรอยู่ที่ 70-99 mg/dL
- ผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีภาวะเบาหวานแฝง น้ำตาลก่อนก่อนทานอาหาร ระดับค่าเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 100-125 mg/dL
- ผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นเบาหวาน น้ำตาลก่อนหลังทานอาหาร ระดับค่าเลือดมากกว่า 126 mg/dL
การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคสคืออะไร
การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test : OGTT) เป็นวิธีตรวจภาวะน้ำตาลที่ถูกแปลงสภาพเป็นพลังงานต่อร่างกายได้มากน้อยแค่ไหน เป็นวิธีตรวจเบาหวานสำหรับผู้เป็นเบาหวาน และหญิงระหว่างตั้งครรภ์ ขั้นตอนการตรวจเบาหวานต่อน้ำตาลกลูโคส ทางแพทย์จะทำการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลหลังให้ดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคสไปแล้ว 2 ชั่วโมง เพื่อรอวัดผลระดับน้ำตาล และสำหรับคนตั้งครรถ์
การอ่านผล
– คนปกติ ควรมีระดับน้ำตาลน้อยกว่า 140% มก.
– ผู้ที่ตั้งครรภ์.
- ระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากดื่มกลูโคสใน 1 ชั่วโมง ควรมีระดับน้ำตาล < 180 มก.
- ระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากดื่มกลูโคสใน 2 ชั่วโมง ควรมีระดับน้ำตาล < 155 มก.
- ระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากดื่มกลูโคสใน 3 ชั่วโมง ควรมีระดับน้ำตาล < 140 มก.
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเบาหวาน
ก่อนการตรวจเบาหวาน ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เพียงพออย่างต่ำ 8 ชม. และทำการอดอาหารและน้ำ 6-8 ชั่วโมงก่อนทำการเข้าห้องตรวจ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในปริมาณที่ปกติ และป้องกันผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากอาหารที่รับประทานไปนั้น อาจมีสารอาหารบางส่วนที่ให้น้ำตาลแก่ร่างกาย ส่งผลให้ไขมันในเลือดสูง เมื่ิอไปตรวจเบาหวาน อาจทำให้ผลลัพธ์จากการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมถึงโรคร้ายแรงต่างๆได้ในอนาคต ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อประเมินความเสี่ยง หาทางป้องกัน หรือ แนวทางการรักษาที่เหมาะสม สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งควรรับประทานยาและฉีดยาตามที่ทางแพทย์กำกับไว้ สุดท้ายพักผ่อนให้เป็นครบ 8 ชั่วโมงต่อ 1 วัน หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
02-441-7899 ต่อ 1111 , 3124 หรือ1792
ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ Line
สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ