ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยังระบาดอยากหนัก แต่ละวันมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 2-3 พันคน รวมถึงยอดผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยหนักก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากโควิด-19 สามารถติดได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะอายุมากหรืออายุน้อย ที่สำคัญผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงหากติดเชื้อโควิด-19 แล้วอาจเกิดอาการรุนแรง
การติดเชื้อโควิด-19 ในระยะหลังพบว่า คนที่ติดเชื้อโควิด-19 100 คน จะมี 80 คนที่ไม่แสดงอาการ อีก 10 คนแสดงอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีอาการเหนื่อยหอบเล็กน้อย ฯลฯ และอีก 10 คนที่เหลือจะเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรง
หนึ่งเรื่องที่ทุกคนต้องรู้ เพื่อป้องกันตัวเองหรือคนในครอบครัวขากความรุนแรงของโควิด-19 คือ 8 กลุ่มผู้มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงอาการหนัก หากติดโควิด-19 มีกลุ่มไหนบ้าง
1. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ผู้ป่วยเบาหวานทั่วไป และผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ผู้ที่มีค่าระดับน้ำตาลปลายนิ้วมากกว่า 90 ขึ้นไป หรือฮีโมโกลบิน a1c หรือน้ำตาลสะสมมากว่า 6 ขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่คนไข้เบาหวานจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น เป็นเบาหวาน แล้วเป็นความดัน หรือเป็นเบาหวานและตรวจพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ และหากมีภาวะติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาจะยิ่งทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะปกติได้ยาก
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 :
- มีวินัยในเรื่องการทานอาหาร กินยาหรือฉีดยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ควรสำรองยาในส่วนของยาเบาหวานประมาณ 3-4 สัปดาห์เพื่อไม่ให้ต้องเดินทางไปรับยาที่โรงพยาบาลบ่อย ๆ
- วัดไข้เช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน เพราะหากมีอาการไข้ หรือมีภาวะติดเชื้อต้องรีบดูแลตั้งแต่เริ่มต้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากหากผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อ จะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ
- ชั่งน้ำหนักทุกวัน เพื่อสังเกตตัวเอง หากมีภาวะน้ำหนักลด ทั้ง ๆ ที่ทานอาหารได้เป็นปกติ แสดงว่าน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
- ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งชุมชน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
2. ผู้ป่วยกลุ่มไตวายเรื้อรัง /ผู้ที่มีอาการไตเสื่อมระยะ 3-5 หรือผู้ที่มีภาวะไตวายระยะสุดท้าย ที่ฟอกไตแล้ว และผู้ที่ทำการเปลี่ยนไตแล้ว เนื่องจากผู้ที่มีภาวะไตเสื่อม ระดับภูมิต้านทานของร่างกายจะลดต่ำลง โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำการเปลี่ยนไต หรือเปลี่ยนอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งต้องได้รับยากดภูมิ ทำให้ภูมิต้านทานต่ำลงกว่าปกติ แม้แต่ได้รับเชื้อไขหวัดธรรมดา คนไข้ที่ได้รับยากดภูมิก็จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นกว่าคนทั่วไป
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตในช่วงสถานการณ์โควิด-19 :
- ควรเข้ารับการฟอกเลือดอย่างสม่ำเสมอ
- ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งชุมชน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
3. ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน คือผู้ที่มี BMI มากกว่า 30 ซึ่งผู้ที่มีภาวะอ้วน มักมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 :
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด มันจัด
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งชุมชน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
4. ผู้ป่วยโรคปอด หรือระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีภาวะหอบหืด หรือภูมิแพ้
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคปอดหรือระบบทางเดินหายใจในช่วงสถานการณ์โควิด-19 :
- ควรสำรองยาประมาณ 3-4 สัปดาห์เพื่อไม่ให้ต้องเดินทางไปรับยาที่โรงพยาบาลบ่อย ๆ เช่น ยาพ่น ยาขยายหลอดลม
- สำหรับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดภาวะภูมิแพ้ เพื่อป้องกันอาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิด-19
- ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งชุมชน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
5. ผู้ป่วยโรคตับ หรือมีการผ่าตัดเปลี่ยนตับ เช่น ผู้ที่มีอาการตับแข็ง ผู้ที่ปลูกถ่ายตับ หรือผู้ที่เป็นมะเร็งตับ ที่ต้องได้รับยาคีโม หรือยากดภูมิ ก็จะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ภูมิต้านทานในร่างกายต่ำลงต้องระวังเรื่องของการติดเชื้อต่าง ๆ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคปอดหรือระบบทางเดินหายใจในช่วงสถานการณ์โควิด-19 :
- ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งชุมชน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
6.ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น HIV กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งต่าง ๆ เนื่องจากจะเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องในช่วงสถานการณ์โควิด-19 :
- พยายามเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเอง ได้แก่ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ควรพาตัวเองให้ถูกแสงแดดบ้าง เพื่อรับวิตามินดี เป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
- ลดหรือควบคุมอาหารในกลุ่มแป้ง น้ำตาล อย่าทานเยอะ เพราะอาหารในกลุ่มนี้หากทานมากไป จะทำให้เซลล์เสื่อม และภูมิต้านทานลดต่ำลง
- ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งชุมชน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
7. กลุ่มคนไข้ที่ใช้ยากดภูมิ เช่น กลุ่มที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะต่าง ๆ เปลี่ยนไต ปลูกถ่ายไต ปลูกถ่ายตับ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิในช่วงสถานการณ์โควิด-19
- พยายามเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเอง ได้แก่ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ควรพาตัวเองให้ถูกแสงแดดบ้าง เพื่อรับวิตามินดี เป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
- ลดหรือควบคุมอาหารในกลุ่มแป้ง น้ำตาล อย่าทานเยอะ เพราะอาหารในกลุ่มนี้หากทานมากไป จะทำให้เซลล์เสื่อม และภูมิต้านทานลดต่ำลง
- ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งชุมชน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
8. กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หากติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้เกิดอาการรุนแรง เนื่องจากหัวใจจะต้องทำงานหนัก ออกซิเจนจากปอดจะมีค่อนข้างน้อย อาจทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ หรือติดเชื้อในปอดได้
ถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วย จะมีอัตราการเสียชีวิต การเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13% และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ประมาณ 20% เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ประมาณ 10% หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น ประมาณ 10%
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจในช่วงสถานการณ์โควิด-19
- ควรปฏิบัติตัวตามมาตราฐานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คือ
- ล้างมือเป็นประจำ, สวมหน้ากาก, การเว้นระยะห่าง (Social Distancing), แยกของใช้ส่วนตัว เป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับแรก
- หากมีอาการไข้ หรือ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินการติดเชื้อและประเมินความรุนแรง และต้องบอกข้อมูลทั้งหมดให้แพทย์ทราบ เพื่อประเมินการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้อง
- รับประทานยาประจำตามปกติ ไม่เปลี่ยนยาเอง หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ยาบางตัวใช้รักษา COVIC-19 อาจส่งผลต่อหัวใจ ดังนั้นแพทย์อาจต้องพิจารณาเรื่องยาให้เหมาะสมหากติดเชื้อ COVID -19
- มาพบแพทย์ตามนัด ถือเป็นเรื่องความสำคัญอย่างมาก เพื่อติดตามการรักษา การทานยา และปฏิบัติตามแนะนำของแพทย์ผู้รักษาอย่างเคร่งครัด และสามารถควบคุมโรคได้ดี
ติดต่อศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ