Interleukin-6 (il-6) คืออะไร สัมพันธ์กับการอักเสบในร่างกายอย่างไร

ทำความรู้จักการอักเสบในร่างกาย

การอักเสบ (Inflammation) เป็นปฏิกิริยาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อร่างกายมีการอักเสบแบบเฉียบพลัน เช่น มีการติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ มีการบาดเจ็บ จะกระตุ้นให้หลั่งโซโตไคน์ (Cytokines) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่หลั่งออกจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) และหลั่งจากเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นขบวนการอักเสบ

โซโตไคน์จึงเป็นสารเคมีที่เป็นสื่อบ่งชี้ถึงการอักเสบของเซลล์ (Inflammatory marker) โดยมีผลทั้งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ (Pro-inflammatory Cytokines) และมีฤทธิ์ในการยับยั้งให้การอักเสบลดน้อยลง (Anti inflammatory Cytokines) นอกจากนี้โซโตไคน์ยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวให้สามารถกำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือกระตุ้นการพัฒนาสร้างสารภูมิต้านทานในร่างกาย

ทำไมจึงควรตรวจ interleukin-6 (IL-6)

ในการตอบสนองต่อการอักเสบจะพบ IL-6 ก่อนโซโตไคน์ ตัวอื่น เช่นเดียวกับ CRP (C-reactive protein) โดยพบในระดับสูง และอยู่ได้นาน  ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยการวินิจฉัยการติดเชื้อเฉียบพลันระยะแรกได้ และหลังจากติดเชื้อแบคทีเรีย พบว่าระดับ IL-6 สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับระดับความรุนแรงของการติดเชื้อ

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ IL-6 เพื่อประเมินความรุนแรงของการติดเชื้อ และพยากรณ์ของโรครวมถึงการตอบสมองต่อการรักษาเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว (Macrophages) ถูกกระตุ้นจะมีการหลั่งโซโตไคน์หลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่

  • อินเตอร์เฟอรอน (Interferon) : ทำหน้าที่ขัดขวางการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสภายในเซลล์  และขัดขวางการแบ่งตัวของเซลล์
  • อินเตอร์ลิวคอน (Inrerleukin) : IL-1, IL-6,IL-10 และ IL-12 ซึ่งทำหน้าที่ในการประสานการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว
  • ทูเมอร์นีโครติกแฟกเตอร์ (Tumoe Necrotic Factor-alpha; TNF-alpha) : ทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมชนิดต่างๆ

 

โรคที่เกี่ยวข้องกับ interleukin-6 (IL-6)

การตรวจพบระดับ interleukin-6 (IL-6) สูงเกินค่าปกติมีการกระตุ้นกระบวนการอักเสบและมีส่วนเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพของโรคต่างๆ หลายโรค เช่น

  • โรคมะเร็ง (Cancer)
  • โรคไขข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว  (Atherosclerosis)
  • ภาวะช็อคจากการติดเชื้อรุนแรง (Septic shock)
  • โรคซึมเศร้า (Major Depression Disorder)
  • โรคเบาหวาน (Diabetes)
  • โรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis)
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
  • โรคความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองโต (Castleman’s disease)
  • โรคกระดูกพรุนในสตรี วัยหมดประจำเดือน (Postmenopausal osteoporosis หรือ Osteoporosis Type I)
  • โรคเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)  โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

การอ่านค่า interleukin-6 (IL-6)

ค่าปกติ : ≤ 10 pg/mL

ค่าผิดปกติ: > 10 pg/mL

แสดงว่าในร่างกายอาจมีการอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute Inflammation) ที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บรวมถึงโรคต่างๆ ที่ทำให้มีการอีกเสบเกิดขึ้น

ทั้งนี้ระดับ interleukin-6 (IL-6) ที่วัดได้เป็นข้อมูลประเมินภาวะการอักเสบเบื้องต้นว่าผู้ป่วยมีการอักเสบแบบเฉียบพลัน และระดับของ interleukin-6 (IL-6) ยังมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคอีกด้วย ซึ่งสามารถใช้ในการวินิจฉัยและการจัดการผู้ป่วยวิกฤตได้

ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพ  interleukin-6 (IL-6)  ตรวจระดับสารที่บ่งบอกภาวะอักเสบในร่างกายได้ที่
ศูนย์ตรวจสุขภาพ  โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย

บทความโดย
ทนพญ. วรวลัญช์ ทองคำ
หน้าหน้าแผนกปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ รพ.วิชัยเวช อ้อมน้อย

 

รพ.วิชัยเวชฯ​ อ้อมน้อย
02-441-7899  ต่อ 1111 , 3124 หรือ1792
ติดต่อผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ