โรคมือเท้าปากในเด็ก อันตรายไหม? รู้ทันอาการ วิธีรักษา และป้องกัน

บทความโดย
พญ.ธันยธร พิสิฐบัณฑูรย์
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และระบบภูมิคุ้มกัน

หากลูกมีไข้ เจ็บปาก ตุ่มใสตามมือ เท้า หรือลำตัว อาจเข้าข่าย โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth Disease) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงเปิดเทอมที่เด็กอยู่รวมกัน

โรคมือเท้าปากเกิดจากเชื้ออะไร?

สาเหตุของโรคมือเท้าปากในเด็กคือเชื้อไวรัสในกลุ่ม เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โดยสายพันธุ์ที่พบได้บ่อย ได้แก่:

  • Coxsackievirus A16
  • Enterovirus 71 (EV71)

การติดต่อเกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ตุ่มน้ำ หรืออุจจาระ โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ และจะแพร่ได้มากที่สุดในช่วง 7 วันแรก

อ่านเพิ่มเติม
ทำความรู้จักเอนเทอโรไวรัส ต้นเหตุเด็กเสียชีวิตกะทันหัน 

เด็กเสี่ยงสูงเอนเทอโรไวรัสระบาด เช็กอาการและการป้องกัน 

อาการของโรคมือเท้าปากในเด็ก

ระยะเริ่มต้น อาการที่พบบ่อย
มีไข้ต่ำ–สูง เจ็บปาก อ่อนเพลีย
ภายใน 1–2 วัน แผลในปาก: เพดาน ลิ้น กระพุ้งแก้ม
วันต่อมา ผื่นหรือตุ่มน้ำใสที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ง่ามนิ้ว รอบก้น

บางรายมีอาการเจ็บแผลในปากจน กินไม่ได้ เสี่ยงขาดน้ำ ต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด หากลูกมีอาการลักษณะนี้ควรรีบพาไปโรงพยาบาล

ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

ส่วนใหญ่อาการจะหายภายใน 7–10 วัน แต่บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น:

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • สมองอักเสบ
  • อัมพาต
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

พ่อแม่ควรพาเด็กพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังนี้:

  • ซึมลง กระสับกระส่าย
  • กินน้อย ปวดศีรษะ ไอ หายใจเร็ว
  • คอแข็ง กระตุก ชักเกร็ง หมดสติ
  • เดินเซ มือสั่น ขาสั่น
  • อาการขาดน้ำรุนแรง (ปากแห้ง ฉี่น้อย)

โรคมือเท้าปากในเด็ก รักษาอย่างไร?

ยังไม่มียารักษาเฉพาะสำหรับโรคนี้ การดูแลเน้นบรรเทาอาการ เช่น:

  • ยาลดไข้ (พาราเซตามอล)
  • ยาทาหรือเจลบรรเทาแผลในปาก
  • ยาแก้คัน หากมีผื่น
  • น้ำเกลือแร่กรณีเสี่ยงขาดน้ำ
  • ยาชาเฉพาะจุด ช่วยให้เด็กทานอาหารได้

ควรให้อาหารอ่อน เช่น โจ๊ก นม ป้อนด้วยช้อนแทนขวด และให้พักผ่อนมาก ๆ

ป้องกันโรคมือเท้าปากในเด็กได้อย่างไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากโดยตรง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขอนามัย:

  • ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหาร / หลังเข้าห้องน้ำ
  • หลีกเลี่ยงใช้ของร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย
  • ตัดเล็บให้สั้นเสมอ
  • ทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวที่เด็กสัมผัส

แอลกอฮอล์เจลไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ได้

เป็นมือเท้าปากกี่วันควรหยุดเรียน?

เด็กที่ติดเชื้อควร หยุดเรียนอย่างน้อย 7 วัน หรือจนกว่า:

  • ไม่มีไข้
  • แผลในปากและตุ่มผื่นแห้งแล้ว
  • ทานอาหารได้ตามปกติ

เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่เด็กคนอื่น

 FAQ :คำถามที่พบบ่อย

Q: มือเท้าปากในเด็ก กินยาอะไรได้บ้าง?
A: ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล และยาทาแผลในปากตามคำแนะนำแพทย์ หลีกเลี่ยงการใช้แอสไพรินในเด็ก

Q: เป็นมือเท้าปากกี่วันหาย?
A: โดยทั่วไปหายภายใน 7–10 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Q: มือเท้าปากต้องไปหาหมอไหม?
A: ถ้าเด็กกินไม่ได้ ซึม หรือมีไข้สูงนานเกิน 2 วัน ควรพบแพทย์ทันที

Q: แอลกอฮอล์เจลใช้ป้องกันโรคนี้ได้ไหม?
A: ไม่ได้ เพราะเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ทนแอลกอฮอล์ ต้องล้างมือด้วยสบู่

ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด หากสงสัย รีบปรึกษากุมารแพทย์เฉพาะทาง หากลูกของคุณมีอาการเข้าข่ายโรคมือเท้าปาก อย่ารอช้า  ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเด็กได้ที่

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์กุมารเวช 24 ชั่วโมง

ศูนย์กุมารเวช 24 ชั่วโมง
โรงพยาบาลวิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
เปิดบริการทุกวัน พร้อมดูแลโดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
โทร: 02-441-7899  หรือ1792
แผนที่: ใกล้พุทธมณฑล – หนองแขม – อ้อมน้อย
นัดหมายออนไลน์: Line