ติดโควิดหรือเปล่า? สัญญาณเตือนมีอะไรบ้าง? น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะหลังจากที่มีการตรวจพบโควิดหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย และการแพร่ระบาดเกิดการกระจายในวงกว้าง โดยเฉพาะอาการของผู้ที่ป่วยโควิดเริ่มมีความหลากหลาย ทั้งที่มีอาการและไม่แสดงอาการ เพราะฉะนั้นการเฝ้าระวัง เช็คอาการตัวเองถือเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ อาการโดยทั่ว ๆ ไปที่มักพบบ่อย ได้แก่
- มีไข้ตัวร้อน ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป พบผู้ป่วยโควิด 19 มีอาการไข้สูง ถึง 87.9%
- ไอแห้ง ๆ พบประมาณ 67.7%
- อ่อนเพลีย พบประมาณ 38.1%
- มีเสมหะ พบประมาณ 33.4%
- หายใจติดขัด พบประมาณ 18.6%
- เจ็บคอ พบประมาณ 13.9%
- ปวดหัว พบประมาณ 13.6%
- ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือบางครั้งมีอาการปวดตามข้อ พบประมาณ 14.8%
- มีอาการหนาวสั่น พบประมาณ 11.4%
- มีอาการวิงเวียน บางรายอาจจะคลื่นไส้ อาเจียน พบประมาณ 5.0%
- คัดจมูก พบประมาณ 4.8%
- ท้องเสีย พบประมาณ 3.7%
- อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือสูญเสียการได้กลิ่น และลิ้นไม่รับรสชั่วคราว
และจากการระบาดของโควิด19 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน 2564 ตรวจพบผู้ป่วยโควิด19 ที่อาจจะมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ ตาแดง น้ำมูกไหล หรือมีผื่นขึ้น หากรุนแรงอาจมีอาการปอดอักเสบ
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโควิด19 จะแสดงอาการภายใน 14 วัน โดยเฉลี่ยแล้วระยะฟักตัว และเริ่มแสดงอาการ จะอยู่ประมาณ 5-6 วันหลังจากได้รับเชื้อ โดยอาจจะมีอาการแสดงเพียงอาการเดียวหรือมากกว่านั้นแล้วแต่บุคคลดังนั้นหากใครมีอาการ
เหล่านี้ และมีประวัติเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด19 ประวัติเสี่ยง ได้แก่
- เดินทาง หรืออาศัยในพื้นที่เสี่ยง ที่มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด19 หรือพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
- เป็นบุคคลในครอบครัว ผู้ป่วยยืนยันโควิด19
- ทำกิจกรรมใกล้ชิด ในระยะไม่เกิน 5 เมตรกับผู้ป่วยยืนยันโควิด19
- ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่อาศัยหรือเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ที่มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด19 หรือพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
- เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด19
ระยะโรคของโควิด19 เป็นอย่างไร?
วันที่ 0 คือ ระยะได้รับเชื้อ
ซึ่งถ้าเป็นบุคคลกลุ่มต่อไปนี้ ได้แก่ เป็นผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง พื้นที่ที่มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด19 ,มีอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก,มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส, มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือปอดอักเสบ ไม่ทราบสาเหตุ ,มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยโควิด19 ก่อนหน้านี้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ
วันที่ 3- วันที่ 7 คือ ระยะพบเชื้อ
ถ้าคุณเป็นบุคคลในกลุ่มเสี่ยง ช่วงระยะวันที่ 3 สามารถตรวจหาเชื้อโควิด19 ได้โดยการตรวจหาเชื้อจะมี 2 วิธีคือ การตรวจหารหัสพันธุกรรมของเชื้อ สามารถตรวจพบได้ขากสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ และการตรวจโดยการเพาะเชื้อไวรัสโดยใช้เซลล์ต่าง ๆ
วันที่ 10- วันที่ 14 คือ ระยะแสดงอาการ
โดยอาการที่บ่งบอกว่า คุณเป็นคนที่ได้รับเชื้อคือ อ่อนเพลีย, มีไข้,ปวดเมื่อย,หายใจลำบาก, ไอแห้ง
อาการของโรคโควิด 19 แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะฟักตัว : ช่วงระยะฟักตัว 5-14 วัน ไวรัสจะแพร่ไปตามเซลล์ที่เยื่อบุคอ และท่อทางเดินหายใจและปอด
ระยะอาการแรกเริ่ม : มีไข้ต่ำ เหนื่อยหอบ ไม่มีน้ำมูก หากร่างกายแข็งแรง ถ้าดูแลแบบไข้หวัด อาจหายได้ภายใน 7 วัน หากมีอาการผิดปกติ และเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด19
ระยะรุนแรง : เกิดอาการปอดบวม ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด 14% จากผู้ที่มีอาการระยะแรก พัฒนามาถึงขั้นรุนแรง สามารถรักษาหายได้ หากเข้ารับการรักษาทันที
ระยะวิกฤติ : เป็นระยะที่ไวรัสทำงานเต็มที่ ทำลายระบบภายใน ติดเชื้อในกระเลือด เยื่อบุลำไส้ถูกทำลาย ไตหยุดการฟอกเลือด ปอดรับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ติดต่อศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ